วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

ไทยไม่ควรขึ้นทะเบียนร่วม

เอกสารสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐาน (นอกเหนือจากการสนับสนุนอย่างแข็งขันและการรับรองอย่างไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ แล้ว) มี
1. ร่างข้อมติ 32COM 8B.102 (หรือ Draft Decision 32COM)
2. Statement by Mr.Pongpol , Chairman of NWHCT at the 32nd Session of the WHC. July 7 , 2008
3. Joint Communiqué. June 18 , 2008
4. สมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ในช่วงที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น รัฐบาลไทยแสดงท่าทีสนับสนุนอย่างแข็งขัน รวมทั้งให้การรับรองเสมือนไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ อาจรวบรวมให้เห็นได้ดังนี้

การสนับสนุนอย่างแข็งขัน และการรับรองอย่างไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
• อ้างว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ไม่เสียดินแดน และไม่กระทบอธิปไตยเหนือดินแดนของไทย
• อ้างว่า กัมพูชามีสถานภาพการถือครองตัวปราสาทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ที่ไทยมอบการถือครองให้ตามคำพิพากษาของศาลโลก โดยไม่บ่งชี้ หรืออาจจะเรียกได้ว่า ปฏิเสธการสงวนสิทธิของไทย
• อ้างว่า การปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• อ้างว่า แผนที่ของกัมพูชาเป็นแผนที่คณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• การบิดเบือนไปถือเอาเส้นปฏิบัติการ (Operation Guide Lines) เป็นเส้นเขตแดนตามมติครม. 2505 ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• เบี่ยงเบนข้อเท็จจริง รวมถึงหลีกเลี่ยงที่จะบอกถึงเรื่องพื้นที่กันชน (Buffer Zone) และแผนจัดการพื้นที่รอบปราสาท ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้ตามข้อบัญญัติ
ปรากฏการณ์หลังมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราจะเห็นท่าทีของนายปองพล อดิเรกสาร (ประธาน NWHCT) เสนอต่อสังคม ให้ไทยขึ้นทะเบียนร่วมองค์ประกอบต่างๆของปราสาทพระวิหารในฝั่งไทย
Statement ของนายปองพล อดิเรกสาร ต่อ WHC เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2551(ค.ศ.2008) มีสาระสำคัญที่หน้า 3 ของเอกสาร ที่ว่า
“ The inscribtion of Preah Vihear should be further retended with the cooperation of Thailand and should be developed into a model case of transboundary nomination, and even a mixed cultural and natural nomination…”
และย่อหน้าสุดท้ายว่า “ We are thankful that the committee has agreed that would be desirable in the future to possible inscribtion to capture criteria (iii) and (iv). To do this I strongly believe, the cultural and natural landscapes on the northern part of the Temple which lie in the Thai territory……”
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธาน NWHCT เมื่อให้สัมภาษณ์ข้อคิดเห็นของท่านต่อทีมนักวิชาการ ได้เตือนเรื่องการขึ้นทะเบียนแบบ mixed cultural and natural nomination ทั้งๆที่เอกสาร Draft Decision 32 COM ยังไม่ออกเผยแพร่ รวมทั้งเตือนเรื่อง ICC ด้วยว่าเป็นประวัติการณ์ ไม่เคยมีที่ไหน แม้ที่นั้นจะมีปัญหาอย่างมาก เช่น กรณีกรุงโรม-นครวาติกัน ,Statement ของนายปองพล อดิเรกสาร ต้องเทียบกับร่างข้อมติ (Draft Decision) และสาระในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Communiqué) จึงจะเห็นความจงใจของ “ผู้กระทำ” รวมถึงหายนะที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย
-----------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ไม่มีความคิดเห็น: