วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปฏิบัติเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน(1)อนุสัญญาออตตาวายุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (สกู๊ปแนวหน้า)

"ทุ่นระเบิด"ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับ"ความปลอดภัยของคนในชาติ" ส่วนใหญ่จะมี"ผลกระทบกับผู้ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน" เมื่อปี 2543-2544 องค์กรพันธมิตรช่วยเหลือชาวนอรเวย์ ( Norwegian People's Aid, NPA ) ทำการสำรวจทุ่นระเบิดในประเทศไทยตามแนวชายแดนพบพื้นที่ต้องสงสัยว่ามีทุ่นระเบิด( mines ) และสรรพาวุธที่ยังไม่ระเบิด(UXO) ประมาณ 2,557 ตร.กม. หรือ ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจำนวน 500,000 คน ใน 531 หมู่บ้าน หรือ 48 อำเภอ 27 จังหวัด เนื่องจากมีการสู้รบกันเมื่อ 30 ปีก่อน ทุ่นระเบิดได้ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปแล้ว เสียชีวิต 364 คนและพิการ 3,469 คน

ตามข้อตกลงของประชาคมโลกกว่า 140 ประเทศ ร่วมลงนามอนุสัญญาออตตาวา ณ ประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ. 1997 ได้ยืนยันว่า สำหรับทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (anti-personel) ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อพลเรือน จะไม่มีการเก็บกู้ ทั้งเก็บกู้เพื่อนำมาใช้ใหม่ และเก็บกู้มาเก็บไว้ในคลัง แต่ให้ใช้วิธีทำลายทิ้งในพื้นที่เลย

สำหรับประเทศไทย ในช่วงเสร็จสิ้นสงครามในประเทศกัมพูชา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2525-2527 ราษฎรเริ่มกลับเข้าทำกินในที่ดินเดิม หลายพื้นที่มีทุ่นระเบิด จะมีการเก็บกู้ด้วยตัวราษฎรเอง เนื่องจากกำลังของทหารที่จะเข้าเคลียร์พื้นที่มีไม่เพียงพอ ส่วนมากผู้ที่เข้าเก็บกู้ มักจะเคยเป็นทหารอาสา ที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องทุ่นระเบิดมาก่อน ราษฎรในหมู่บ้านชายแดน แม้แต่เด็กหนุ่มที่มีความคึกคะนอง ก็สามารถเก็บกู้ทุ่นระเบิดเหล่านั้นได้ และแน่นอนที่สุดทุกรายต้องลงท้ายด้วยอุบัติเหตุ หลายคนแขนขาด บางคนพิการ และที่เสียชีวิตไป

ประเทศไทยร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (The 1997 treaty banning the use, stockpiling, production and transfer of anti-personel landmines) หรือที่เรียกว่า อนุสัญญาออตตาวา ร่วมกับอีก 140 ประเทศ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2540 และได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1พฤษภาคม 2542

การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ปฏิบัติการด้านทุ่นระเบิดทั้งการกวาดล้างทุ่นระเบิดกรอบการปฏิบัติการทุ่นระเบิด จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยในการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ และสังคมรวมถึงการจัดสรรงบประมาณ สำหรับการปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดอย่างเหมาะสมผู้สนับสนุนจากภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร และหน่วยงานเพื่อจะทำให้แผนงานประสบความสำเร็จต่อไป

มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน จึงเปิดโครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการ ด้านชายแดนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ตั้งเป้าปรับลดพื้นที่อันตรายด้านที่ติดกับชายแดนกัมพูชาจากประมาณ 2,000 ตร.กม.ให้เหลือเพียงประมาณ 400 ตร.กม.พร้อมทั้งเดินหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามแนวชายแดน คาดจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเก็บกู้ระเบิดทั่วประเทศแล้วเสร็จภายในปี 2556 ตามข้อผูกมัดในอนุสัญญาออตตาวา...!!!

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซีย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเหลือเวลาเพียง 5 ปี ที่จะต้องปฏิบัติตามพันธะกิจของอนุสัญญาออตตาวา ที่ระบุให้ประเทศไทยต้องเก็บกู้ทุ่นระเบิดทั่วประเทศให้เสร็จในปี 2556 แต่ภารกิจดังกล่าวเป็นงานที่ยากยิ่ง เนื่องจากพื้นที่สงสัยเป็นทุ่นระเบิดในประเทศไทยมีมากถึง 2,500 ตร.กม. การสำรวจ การเคลียร์พื้นที่ รวมถึงการเก็บกู้ล้วนแต่เป็นงานอันตราย และเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล การที่มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เข้ามาช่วยเหลือด้านการสำรวจพื้นที่ เพื่อกำหมดขอบเขตสนามทุ่นระเบิดให้ตรงตามความเป็นจริง และมีพื้นที่ลดลงช่วยให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ทำงานเก็บกู้ได้ง่ายและเสร็จเร็วขึ้น หากประเทศไทยสามารถปฏิบัติภารกิจให้เสร็จตามเวลา ซึ่งจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีโลกทำให้บทบาทของไทยในกลุ่มอาเซียนโดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง

ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือเรียกว่าอนุสัญญาออตตาวา กำหมดให้รัฐบาลไทย ต้องเก็บกู้ระเบิดทั้งหมดทั่วประเทศ ภายในปี 2556 รัฐบาลไทยได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมขึ้นมา 4 หน่วย เพื่อเร่งการเก็บกู้ และกวาดล้างทุ่นระเบิดตามพื้นที่แนวชายแดน โดยเฉพาะด้านกัมพูชาที่มีทุ่นระเบิดมากกว่าร้อยละ 76 ของพื้นที่ทุ่นระเบิดทั้งประเทศ

"แต่การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเก็บกู้ระเบิดได้เพียง 50 ตร.กม.หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของพื้นที่สงสัยว่าเป็นทุ่นระเบิดทั่วประเทศที่มีประมาณ 2,500 ตร.กม. เนื่องจากขอบเขตของสนามทุ่นระเบิดที่ใหญ่กว่าความเป็นจริงมาก ทำให้ไทยไม่สามารถเก็บกู้ระเบิดได้ตามกำหมดของอนุสัญญาออตตาวา ดังนั้นในปี 2550 มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ คิดค้นหาแนวทางเพื่อให้การเก็บกู้ และกวาดล้างทุ่นระเบิด สามารถดำเนินการให้คืบหน้าเร็วขึ้น"ดร.สุรินทร์ กล่าว

พล.ท.ธำรงค์ศักดิ์ ดีคงมล หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2549 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ได้คิดค้นหาแนวทางเพื่อให้การเก็บกู้ และกวาดล้างทุ่นระเบิดสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จนเป็นที่มาของโครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการ จะกำหมดขอบเขตสนามทุ่นระเบิดใหม่ในพื้นที่สงสัยประมาณ 2,000 ตร.กม.ตามชายแดนไทย-กัมพูชา จ.ตราด จ.จันทบุรี จ.สระแก้ว จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และจ.อุบลราชธานี ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน50-ตุลาคม 52 โดยมอบหมายหน้าที่ให้แก่มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงฯ คาดว่าจะสามารถกำหมดเป็นพื้นที่ปลอดภัยประมาณ 1,600 ตร.กม.และเป็นสนามทุ่นระเบิดจริงเพียงประมาณ 400 ตร.กม.เท่านั้น

ส่วนนายเตช บุนนาค ประธานที่ปรึกษา มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน กล่าวว่า มูลนิธิแม่น้ำโขงฯ ได้รับความวางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้ดำเนินโครงการฯ นี้ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก Japan-ASEAN lntegrated Fund JAIF 1.28 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเสร็จสินการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแล้ว มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงฯ ยังมุ่งเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข และการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง กระบวนการเหล่านี้จะทำให้แต่ละชุมชนมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงฯ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน และมูลนิธิที่จดทะเบียนดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งชาวไทย และประเทศเพื่อนบ้านให้มีการพัฒนา ดำเนินงานพัฒนาภายใต้กรอบการทำงานระยะยาว เพื่อแก้ไขด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มุ่งเน้นที่จะช่วยเหลือประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนตะเข็บชายแดนที่ได้มีการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเรียบร้อยแล้ว และชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ห่างไกลที่ด้อยโอกาส ส่งเสริมสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอน การให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน

การเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นภารกิจที่เสี่ยง ผู้ปฏิบัติต้องทำงานอย่างระมัดระวัง หากประมาทเพียงครั้งเดียว และเกิดการผิดพลาด ผู้ปฏิบัติจะไม่สามารถแก้ตัวเป็นครั้งที่2 นั้นหมายความว่าต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น ฉบับพรุ่งนี้ สกู๊ปแนวหน้า จะพาลงสนามทุ่นระเบิดดูภารกิจเก็บกู้ทุ่นระเบิดของเจ้าหน้าที่ ชีวิตที่ยืนอยู่บนเส้นด้าย...!!!

อนุสัญญาออตตาวา

อนุสัญญาออตตาวานับเป็นอนุสัญญาแรกในการลดอาวุธที่ห้ามอาวุธตามแบบอย่างเต็มรูปแบบและกำหนดให้มีการทำลายทุ่นระเบิด และเป็นความร่วมมือร่วมใจอย่างแข่งขัน ระหว่างรัฐบาลและองค์กรเอกชน อนุสัญญาออตตาวาว่า เป็น landmark ของประวัติศาสตร์การลดอาวุธโลก
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล คือ ทุ่นระเบิดที่ใช้สำหรับฝังใต้ดิน วางไว้บนดินหรือเหนือพื้นดิน จะมีการระเบิดเมื่อมีการกด เหยียบ ดึง สัมผัส
สำหรับประเทศไทย ในช่วงเสร็จสิ้นสงครามในประเทศกัมพูชา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2525-2527 ราษฎรเริ่มกลับเข้าทำกินในที่ดินเดิม หลายพื้นที่มีทุ่นระเบิด จะมีการเก็บกู้ด้วยตัวราษฎรเอง เนื่องจากกำลังของทหารที่จะเข้าเคลียร์พื้นที่มีไม่เพียงพอ ส่วนมากผู้ที่เข้าเก็บกู้ มักจะเคยเป็นทหารอาสา ที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องทุ่นระเบิดมาก่อน ราษฎรในหมู่บ้านชายแดน แม้แต่เด็กหนุ่มที่มีความคึกคะนอง ก็สามารถเก็บกู้ทุ่นระเบิดเหล่านั้นได้ และแน่นอนที่สุดทุกรายต้องลงท้ายด้วยอุบัติเหตุ หลายคนแขนขาด บางคนพิการ และที่เสียชีวิตไป
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
(The 1997 treaty banning the use, stockpiling, production and transfer of anti-personel landmines) หรือที่เรียกว่า
อนุสัญญาออตตาวา ร่วมกับอีก 140 ประเทศ ณ ประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ. 1997 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2540 และได้ให้
สัตยาบันต่ออนุสัญญาออตตาวา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 เป็นผลให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญา
ออตตาวาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นประเทศในอันดับที่ 53 ของโลกและเป็นประเทศแรกในเอเชีย มีผลบังคับใช้ใน
วันที่ 1พฤษภาคม 2542 พันธกรณีของไทยภายใต้อนุสัญญาออตตาวา
เมื่ออนุสัญญาออตตาวามีผลบังคับใช้ต่อไทยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แล้ว ไทยก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติ
ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ ดังนี้
5.1 ไม่ใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
5.2 ไม่พัฒนา ผลิต หรือได้มาด้วยวิธีอื่น สะสม จัดเก็บหรือโอนไปสู่ผู้ใดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่ง
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ยกเว้นการโอนทุ่นระเบิดเพื่อทำลาย
5.3 ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุนหรือชักจูงผู้ใดให้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องห้ามแก่รัฐภาคีภายใต้อนุสัญญานี้
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม
5.4 ทำลายหรือดำเนินการให้แน่ใจว่ามีการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลทั้งหมดภายใน 4 ปี หลังจากที่
อนุสัญญาออตตาวามีผลบังคับใช้ต่อไทย ยกเว้นการจัดเก็บหรือโอน ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลได้จำนวนหนึ่งเพื่อการพัฒนา
การฝึกอบรมในการตรวจค้นทุ่นระเบิด การกวาดล้างทุ่นระเบิด หรือวิธีการทำลายทุ่นระเบิด
5.5 ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด (การเก็บกู้ทุ่นระเบิด) ภายใน 10 ปี หลังจากที่อนุสัญญามี
ผลบังคับใช้ต่อไทย (30 เมษายน 2552) ทั้งนี้ หากไม่สามารถที่จะทำลายทุ่นระเบิดในพื้นที่ทุ่นระเบิดได้ทันตามกำหนด
ระยะเวลาดังกล่าว อาจร้องขอต่อที่ประชุมรัฐภาคีหรือที่ประชุมทบทวนเพื่อขยายกำหนดเวลาในการดำเนินการดังกล่าวให้
เสร็จสิ้น ออกไปได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
5.6 แสดงตำแหน่งพื้นที่ซึ่งทราบหรือสงสัยว่ามีทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และต้องแสดงเขตบริเวณ เฝ้าตรวจพื้นที่
ทุ่นระเบิด และแยกพลเรือนออกไปจากพื้นที่ทุ่นระเบิดโดยใช้การล้อมรั้ว
5.7 รายงานผลการดำเนินการด้านทุ่นระเบิดต่อเลขาธิการสหประชาชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีกำหนดต้องส่ง
รายงานดังกล่าวภายในวันที่ 30 เมษายน
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอนุสัญญาออตตาวา
ไทยมีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ทั้งในด้านการเก็บกู้
ทำลาย การแจ้งเตือนภัยให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิด การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการฟื้นฟูพื้นที่ทุ่นระเบิดให้เป็น
ประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องจากสอดคล้องกับกระแสของ
โลกและเป็นประโยชน์ต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนไทยในระยะยาว และเพื่อประเทศไทยและประเทศอาเซียนเป็นเขต
ปลอดอาวุธนิวเคลียร์และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

--------------------------------
ข้อมูอ้างอิง

http://vivaldi.cpe.ku.ac.th/~note/newscrawler/view_
news.php?id=409493 http://my.dek-d.com/raidman/story/viewlongc.php?id
=221823&chapter=30

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

ขัดแย้ง ‘พระวิหาร’ กระทบวิถีชีวิต ประชาชนไทย – กัมพูชา เสนอ ‘เปิดชายแดนทันที


เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2551 ซึ่งเป็นวันสันติภาพโลก กลุ่มประชาชนไทยและกัมพูชา 85 คน ภายใต้การประสานงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชนจัดการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันในกรณีปราสาทพระวิหาร ณ อ. อรัญญประเทศ จ.สระแก้ว ประเทศไทย และปอยเปต ประเทศกัมพูชา ทั้งยังออกแถลงการณ์ร่วมกันมีความว่า ประชาสังคมทั้งสองประเทศสามารถทำงานร่วมกันในการป้องกันความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันต่อกรณีเขาพระวิหารต่อไปในอนาคตและมีความเห็นร่วมกันว่าความไม่เข้าใจในกรณีเขาพระวิหารที่ไม่ตรงกันจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตมากยิ่งขึ้นหากไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นในการหาทางออกด้วยกระบวนการสันติวิธีแทนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเปิดชายแดนโดยทันที ขณะเดียวกันความล่าช้าของการดำเนินการทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันจะยิ่งนำมาซึ่งความเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งสอง ฝั่งชายแดน ทั้งนี้ ประชาชนทั้งสองประเทศตกลงจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและยุติความไม่เข้าใจกัน สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และกิจกรรมอื่นใดข้ามพรมแดนที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ รวมไปถึงเรียกร้องให้สื่อมวลชนทั้งสองประเทศ แสดงบทบาทสำคัญในการร่วมสร้าง สรรค์สันติภาพและมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
ข้อเสนอจากการประชุมภาคประชาชนกัมพูชา-ไทย
๒๐- ๒๑ กันยายน ๒๕๕๑
อรัญญประเทศ และปอยเปต
แถลงการณ์ร่วม
"เพื่อลดความตึงเครียด ส่งเสริมความเข้าใจที่ดีต่อกัน และสร้างสรรค์สันติภาพที่ยั่งยืน"

ในโอกาสของวันสันติภาพโลกวันนี้ เราประชาสังคมเขมรและไทย ๘๕ คนได้พบปะปรึกษาหารือกันที่ อรัญญประเทศ พระราชอาณาจักรไทย และที่ปอยเปต พระราชาณาจักรกัมพูชา เพื่อหาช่องทางที่ประชาสังคมทั้งสองประเทศสามารถทำงานร่วมกันในการป้องกันความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันต่อกรณีเขาพระวิหารต่อไปในอนาคต
๑ เรามีความเห็นร่วมกันว่าความไม่เข้าใจในกรณีเขาพระวิหารที่ไม่ตรงกันจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตมากยิ่งขึ้นหากไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
๒ เราเชื่อมั่นการหาทางออกด้วยกระบวนการสันติวิธี แทนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจึงขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเปิดชายแดนโดยทันที
๓ เรามีความเห็นร่วมกันว่าความล่าช้าของการดำเนินการทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันจะยิ่งนำมาซึ่งความเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งสอง ฝั่งชายแดน
๔ ประชาชนทั้งสองประเทศมีความเคารพและเชื่อมั่นต่อกันจึงตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและยุติความไม่เข้าใจกัน
๕ เราสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และกิจกรรมอื่นใดข้ามพรมแดนที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
๖ เราเรียกร้องให้สื่อมวลชนทั้งสองประเทศ แสดงบทบาทสำคัญในการร่วมสร้าง สรรค์สันติภาพและมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
อรัญญประเทศ - ปอยเปต
๒๑ กันยายน ๒๕๕๑
Conclusion from the Cambodian-Thai Civil Society Consultation
20-21 September 2008, Aranyapratet - Poipet
Joint Statement
"Helping de-escalate tensions, promoting mutual understanding and working for sustainable peace"
In the occasion of the International Peace Day, we, 85 Cambodian and Thai civil society actors have convened at the conference in Aranyapratet, Kingdom of Thailand, and Poipet, Kingdom of Cambodia, in order to explore ways in which the civil societies of both countries can work together to prevent the conflict over the issue of Preah Vihear from being further escalated.
1. We share a common concern that the conflict over the Preah Vihear issue could be further escalated, if a proper solution cannot be soon identified.
2. We strongly believe in a peaceful solution by the royal governments of the two countries, rather than military action and to reopen the border crossings for the benefit of the people.
3. We see that the delay to resolve this conflict has negatively affected the people of the two countries, especially livelihood of people on both sides of the border.
4. We agree to work collectively to reduce tensions and strengthen solidarity toward building up mutual understanding and trust between the civil societies of the two countries, and to work together to promote sustainable peace.
5. We encourage further cross-border activities between the civil societies of the two countries in order to share information, to collaborate on common issues and to increase mutual understanding. A special emphasis shall be placed on people exchange programs.
6. We call for the media of both countries to take an active role in contributing to a peaceful solution and in promoting friendship.
Aranyapratet-Poipet, 21 September 2008
-------------
ที่มา สุเจน กรรพฤทธิ์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ความคิดเห็นของคนทั่วไป

ผู้พิพากษาศาลโลกคดีเขาพระวิหาร ที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี 9 คน จากจำนวนผู้พิพากษาทั้งหมด 15 คน คือ

1 . นายโบดาน วินิอาสกิ โปแลนด์ประธ าน
2. นายริคาโด เจ อาลฟาโร ปานามา รองประธาน
3. นายจูลส์ บาเดอวัง ฝรั่งเศส
4. นายอับเดลฮามิ บาดารี อียิปต์
5. เซอร์เจอรัล ฟิตส์มอริตส์ อังกฤษ
6. นายวลาดิมีร์ คดเรดสกี้ รัสเซีย
7. นายโคดาโร ทากานะ ญี่ปุ่น
8. นายโฮเซ่ บุตามัน ริเบโร เปรู
9. นายเกตาโน่ มอเรลลี่ อิตาลี

ผู้ตัดสินให้ไทยชนะ ได้แก่ ผู้พิพากษา 3 คน คือ

1. นายมอเรโน กินตาน่า อาร์เจนติน่า
2. เซอร์เพอร์ซี่ สเปนเซอร์ ออสเตรเลีย
3. นายเวลลิงตัน คู จีนคณะชาติ ใต้หวัน

ผู้พิพากษาที่งดออกเสียง ได้แก่

1. นายสปีโรปู ลอส กรีซ ( ป่วย )
2. นายโรแบร์โต คอโดวา เม็กซิโก ( ป่วย )
3. นายฟิลิป ซี เจสซัป ( ทนายฝ่ายไทย )

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช กล่าวเมื่อปี พ.ศ.2505 หลังศาลโลกตัดสินแล้วว่า

"การไปว่าคดีนี้มันต้องพิสูจน์กันว่าความจริงสันปันน้ำมันอยู่ที่ไหน เราพาผู้ชำนาญซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีฮอลันดามา เขาเป็นผู้ชำนาญมากเรื่องแผนที่ แกก็มาชี้ขาดว่าสันปันน้ำมันอยู่ที่หน้าผาอย่างที่เราว่า เขมรเขาก็เอาผู้เชี่ยวชาญมาบ้าง ผู้ชำนาญการเขมรก็กลับมารับว่า สันปันน้ำมันเดินตามหน้าผา ก็เมื่อผู้ชำนาญของเขาเองก็มาเดินตามแนวเรา นี่คือข้อหนึ่งที่สำคัญ"

ศาลโลกบอกว่า "แผนที่เท็จ" หรือ "เอกสารเท็จ" น่ะคนขี้เมาเขียนขึ้นมา แต่ก็ให้กัมพูชาชนะคดี ยังงี้มันต้องรบกันชิงเขาพระวิหาร ตัวต่อตัวนะ ห้ามใครช่วยใคร ถ้าใครรบชนะก็เอาเขาพระวิหารไป

พระวิหาร มุมมอง นศ.ไทยในรัสเซีย

เขาพระวิหารเป็นของไทย อยู่ในเขตแดนไทยตามแนวสันปันน้ำซึ่งกำหนดขึ้นตามข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศแต่เดิมมาซึ่งฝรั่งเศสเองก็เคยร่วมทำแผนที่ยอมรับว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย

แต่เพราะการเมือง ที่เขมรไม่ยอมรับ และพยายามให้ฝรั่งเศสช่วยโดยอ้างว่าบรรพบุรุษของมันเป็นคนสร้าง จะจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่เขมรปัจจุบันไม่มีใครรู้วิธีสร้างปราสาทหินแม้แต่คนเดียว

ฝรั่งเศสเป็นหัวโจกด้านโบราณวิทยาค้นคว้าเรื่องนี้อยู่แล้ว เหมือนนักโบราณคดีอังกฤษค้นคว้าปิรามิดและมัมมี่ เลยกระโดดเข้าช่วยสุดฤทธิ์ โดยทำแผนที่ปลอมขึ้นมาในการใช้เป็น "หลักฐานเท็จ" ซึ่งผิดจากหลักภูมิศาสตร์และภูมิประเทศแถบนั้น ศาลโลกก็รู้ว่าเป็นเอกสารเท็จแต่ก็ให้เขมรชนะไทย นัยว่ายังไงเสียเขาก็ต้องให้คนผิวขาวชนะคนผิวเหลืองอยู่แล้ว

โดยมีคำพิพากษาว่าศาลไม่เอาหลักฐานอื่นนอกจากเอกสารนี้ เพราะถือว่าไทยไม่คัดค้านมาตั้งแต่ต้น โดยใช้สุภาษิตภาษาลาตินโบราณที่ว่า

"ผู้ที่นิ่งเฉยเสียไม่พูดเมื่อมีโอกาสพูดหรือสมควรพูด ให้ถือว่ายอมรับ"
คือ ศาลโลกพิพากษาว่า "การที่ไทยไม่ปฏิเสธก็ถือว่ายอมรับ"

การพิพากษาของศาลโลกในคดีนี้ทำให้ได้รับการตำหนิติเตียนจากนักกฏหมายชาวตะวันตกเป็นจำนวนมากว่า เป็นความตกต่ำถึงจุดต่ำสุดของกระบวนการพิจารณาทางกฏหมายของประเทศตะวันตก เพราะการตัดสินคดีความ นอกจากจะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมแล้ว ยังต้องมีความชัดเจนอีกด้วย เพื่อให้ปัญหาสิ้นสุดและยุติลงเพื่อไม่ให้มีกรณีพิพาทอีกในอนาคต

และมีเจ้าหน้าที่ชาติตะวันตกได้เขียนจดหมายแสดงความเสียใจมายังผู้แทนของรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่งในทำนองไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก

ท่านนายกสฤษธิ์ ธนะรัชต์ เคยกล่าวไว้ว่า "สักวันหนึ่งจะเอาเขาพระวิหารกลับคืนมาเป็นของไทยให้ได้"
เราต้องย้ายธงชาติไทยลงมาทั้งเสา เพราะทหารสั่งไม่ให้ชักธงชาติลงจากเสา เพื่อคอยว่าสักวันหนึ่งเราจะนำขึ้นไปตั้งบนเขาพระวิหารอีกครั้ง

ไทยได้ประท้วงคำตัดสินและคำสั่งของศาลโลก แต่ก็ทำอะไรมากไม่ได้ เพราะคำตัดสินของศาลโลกถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ไม่ได้ และฝรั่งเศสเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ผู้มีอำนาจบังคับไทยให้ปฏิบัติตาม และอาจใช้กำลังสมาชิกอีกสิบกว่าชาติมาบีบบังคับในกรณีที่จำเป็น ซึ่งเราสู้ไม่ไหวแน่

เขมรกับฝรั่งเศสจึงเป็นโจรปล้นปราสาทเขาพระวิหารไปจากเรา ตามคำตัดสินที่ไม่น่าเชื่อถือของศาลพระภูมิ เอ๊ย ศาลโลกที่เข้าข้างโจร

ท่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทยในคดีเขาพระวิหารได้หลุดคำพูดออกมาว่า

"ถ้าผมจะพูดบ้างล่ะว่าศาลโลกนี่มันเป็นหมา และถ้าศาลโลกไม่ออกมาปฏิเสธว่าตัวเองไม่ใช่หมา ศาลโลกมันจะยังเป็นหมาอยู่หรือไม่" ก็น่าคิดเหมือนกันนะ

นักการเมืองรุ่นใหม่อย่างนพดล อยู่ในรัฐบาลนอมินี ต้องรีบเซ็นชื่อแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของนายใหญ่ที่มีอยู่ที่นั่น
-------------
ที่มา อินเตอร์เนต

เขมรมอง พระวิหาร

PREAH VIHEAR - 'No approval needed' for heritage bid: Samak Sundaravej
The joint statement by Thailand and Cambodia backing Phnom Penh's bid to put Preah Vihear temple on the World Heritage list did not need approval from parliament, Prime Minister Samak Sundaravej said yesterday. Mr Samak used his weekly national television address to explain the issue for the first time, saying the document attached to a map showing the boundary of the temple could be approved by the government.

''Article 190 cannot be applied to this,'' he said.

The article states any treaty or agreement affecting Thai boundaries and sovereignty must be passed through parliament.

Mr Samak said the decision to ask the World Heritage Committee, which is under the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation (Unesco), to approve the temple for listing was ''Cambodia's business''.

Thailand only wanted to make sure the 4.6-square-kilometre area which both countries claim was excluded from the Cambodian plan, he added.

Some senators opposing the position had demanded the government get parliamentary approval for the statement, citing the consequences of the decision on future demarcation talks on the overlapping area between Kantharalak district of Si Sa Ket and the Cambodian province of Preah Vihear.

Krit Kraichitti, the director-general of the Treaties and Legal Affairs Department, said the joint statement was not a treaty because it only demonstrated support for the Cambodian bid.

''Preah Vihear is under Cambodian sovereignty and on Cambodian soil,'' the Foreign Ministry official said.

The department has sole responsibility for all treaties and agreements affecting Thailand. Despite different opinions on the joint statement, it could not be defined as a document affecting Thailand's sovereignty and borderlines, he said.

Foreign Minister Noppadon Pattama and Cambodian Deputy Prime Minister Sok An signed the joint statement on Tuesday, soon after cabinet endorsement.

''The Thai support on this issue is Thailand's political will. It has nothing to do with the treaty,'' Mr Krit said.

The People's Alliance for Democracy (PAD) has used the Preah Vihear issue to attack the government.

Its leaders urged the prime minister to stop the move to register the temple by Cambodia, saying it should not be a unilateral effort by Phnom Penh. They criticised the prime minister for admitting that the temple belonged to Cambodia.
----------------
ที่มา
Monday June 23, 2008
SARITDET MARUKATAT
Bangkok Post

ข้อมูลจากรายการเวทีสาธารณะ

โดยภาพรวมของรายการ คุณภารณีนำเสนอมุมมองการทำงานข้อมูลภาคประชาชนที่ค่อนข้างเด่นมาก โดยมีมุมมองของกูรูนักประวัติศาสตร์ระดับชาติ (ตอนนี้น่าจะต้องถือว่าเป็นระดับโลกไปแล้ว เมื่ออารยธรรมปราสาทเป็นมรดกโลก) คืออาจารย์นิธิกับอาจารย์ศรีศักดิ์ที่มาเปิดมุมมองเกี่ยวกับการจัดการปัญหาปราสาทพระวิหารได้อย่างกว้างขวางครอบคลุม

กล่าวโดยสรุปทั้ง 3 ท่านมีความเห็นตรงกันดังนี้

1.มรดกโลกจะเป็นมรดกโลกได้ก็ด้วยคุณค่าในเชิง "องค์ความรู้" มิใช่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เมื่อข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารยังไม่มีความร่วมมือที่ชัดเจน ประกอบกับองค์ความรู้ปราสาทพระวิหารปัจจุบันถูกตัดออกเป็นส่วนๆ ด้วยประเด็นเรื่องเขตแดน อธิปไตย และผลประโยชน์ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ปราสาทพระวิหารสูญเสียคุณค่าในเชิงมรดกโลกลงอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นได้แค่แหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น คำถามสำคัญในประเด็นนี้ก็คือ "คนที่มามรดกโลก เขาได้อะไรจากการมามรดกโลก?"

2.ปราสาทพระวิหารเป็นตัวแทนของจุดศูนย์กลางอารยธรรมหนึ่งในเครือข่ายอารยธรรมแถบลุ่มน้ำชี-มูล-ลุ่มทะเลสาบเขมรที่ติดต่อเดินทางผ่านช่องเขาต่างๆ ซึ่งมีระบบความคิดความเชื่อแบบเดียวกัน การมีปราสาทหินต่างๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณเหล่านี้มิใช่สิ่งบังเอิญ แต่เป็นศรัทธาความเชื่อพิธีกรรมเกี่ยวกับ "ผีต้นน้ำ" ในการดูแลคุ้มครองความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองในศูนย์กลางอารยธรรมทางสังคมเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆ ซึ่ง "น้ำศักดิ์สิทธิ์" จากผีต้นน้ำจะไหลไปรวบรวมใน "สระตราว" ก่อนที่จะไหลลงห้วยที่ชุมชนใช้ดื่มกิน ดังนั้นกรณีของปราสาทในแง่มุมขององค์ความรู้จึงสัมพันธ์กับลักษณะชุมชน เครือข่ายสัมพันธ์ทางสังคม และทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบที่รองรับการมีอยู่ของตัวปราสาท

3.ในการยกปราสาทเป็นมรดกโลกนั้น ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ขาดการเผยแพร่ข่าวสารและความเข้าใจในผลกระทบที่ชัดเจนว่าปราสาทเป็นมรดกโลกแล้วได้อะไรเสียอะไร สิ่งที่เป็นข่าวมักมีเนื้อหาบิดเบือนไปมาอยู่ตลอดเวลาทั้งจากฝั่งไทยและกัมพูชา

4.การบริหารจัดการปราสาทพระวิหารโดยคณะกรรมการร่วม 7 ชาติมาจากไหน? ทำไมถึงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว? ปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งสะท้อน political decision ของมหาอำนาจในคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะเข้ามาบริหารจัดการและส่งผลกระทบในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่

5.การที่คณะกรรมการมรดกโลกนำเหตุผลเกี่ยวกับ "buffer zone" เข้ามาพิจารณาและอ้างสิทธิในการให้คณะกรรมการ 7 ชาติเข้าร่วมบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว มิได้มีการชี้อย่างชัดแจ้งว่าคือพื้นที่บริเวณใด ทั้งนี้ทั้งนั้นบริเวณดังกล่าวจะต้องไม่ใช่พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงร่วมกันตั้งแต่ปี 2542 ที่มิให้มีสิ่งปลูกสร้างใดใดเพิ่มเติม

6.บทบาทไทยในปัจจุบันถูกบีบให้มีคำตอบได้แค่ say yes – say no ทั้งๆ ที่เราควรมีสิทธิในการถามกลับในรายละเอียดความร่วมมือที่ชัดเจน รวมทั้งมีสิทธิถามกลับว่า คณะกรรมการมรดกโลกได้ทำตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักขององค์กรหรือเปล่า นั่นคือการมองคุณค่าของมรดกโลกในมุมขององค์ความรู้ของมนุษยชาติ (มิใช่แหล่งศิลปกรรมแหล่งท่องเที่ยวที่ปล่อยให้ฝรั่งมายืนกอดกันถ่ายรูป)

7.ชั่งน้ำหนักให้ดีว่าถ้ายอมแล้วต้องทำแบบเค้า กับไม่ยอมแล้วทำแบบเราอะไรเป็นประโยชน์ รวมทั้งการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในลักษณะนี้นั้นทำให้เสียศักดิ์ศรีของการเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกหรือไม่

8.แนวทางปัจจุบันจึงควรแขวนเรื่อง 7 ประเทศไว้ก่อน แล้วกลับมาจัดการเป้าหมายหลักเรื่อง "แหล่งเรียนรู้ของโลก" นั่นคือสร้างความร่วมมือที่จะพัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องคือเรากับกัมพูชาให้ได้ขึ้นมาเสียก่อน ก่อนที่จะมากล่าวประเด็น Yes-No เพราะไม่เพียงที่เราจะเสียเปรียบ แต่กัมพูชาเองก็จะเสียเปรียบในคณะกรรมการบริหารร่วม 7 ชาตินี้ เริ่มจากเข้าใจประวัติศาสตร์ร่วมกัน มีความร่วมมือที่เข้าใจซึ่งกันและกันทั้งในระดับรัฐและประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในท้ายสุด

9.การที่เราจะแสดงบทบาทดังกล่าวได้ เราต้องแสดงถึงความเป็นรัฐอธิปไตยที่เข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ไม่ใช่ในลักษณะจำยอมในทางเลือกที่จำกัดซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยและสิทธิในการบริหารจัดการดังกล่าวไปในที่สุด
-------------
ที่มา
สรุปทีวีไทย วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2551 เวลา 14.00 – 15.30 น.
ผู้เข้าร่วมรายการมี 3 ท่านคือ อาจารย์นิธิ อาจารย์ศรีศักดิ์ และ คุณภารณี สวัสดิรักษ์ (จาก ICOMOST)