วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

ทางแก้ไขเยียวยา

• ผู้ที่ทำความเสียหาย หรือมีส่วนทำความเสียหาย
๑) หยุดสร้างปัญหา ที่จะก่อให้เกิดภาระผูกพันต่อไป
๒) บอกความจริง เพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขและเยียวยาในวิถีทางที่ถูกต้องตรงประเด็น
• ผู้มีหน้าที่แก้ปัญหา
๑) พิจารณาว่าใครสมควรจะเป็นผู้บอกเลิกหนังสือสัญญากับกัมพูชาโดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุผลใด อ้างอิงข้อกฎหมายใด
๒) แถลงความจริงต่อประชาชน
๓) สำรวจตรวจสอบความผิดพลาดทำนองนี้ ในกรณีอื่นๆ
๔) ชำระข้อมูล และจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้และความถูกต้อง อันจะเป็นบทเรียนต่อไปในอนาคต
อนึ่ง แนวทางยกเลิกแถลงการณ์ร่วม(Joint Communiqué) ต่อ WHC ทำไม่ได้แล้วตามร่างมติข้อ ๕ (Draft Decision) เพราะถูก suspensed
ส่วนการเสนอขอเปลี่ยนแปลงมติของ WHC นั้น ต้องขึ้นอยู่กับกำหนดเวลา ปีหน้า (๒๕๕๒) แม้จะเป็นการช้าเกินการณ์ และไม่ทันต่อการดำเนินการของกัมพูชาบางเรื่อง เช่น ICC แต่ก็ควรคิดจะทำ พร้อมกันนั้นการไม่ให้ความร่วมมือกับกัมพูชา เช่น การไม่ส่งแผนพัฒนาร่วม การอ้างพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเพื่อปิดช่องเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินก็สามารถกระทำได้ และที่สำคัญคือการไม่ขึ้นทะเบียนร่วม ก็จะทำให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาไม่สมบูรณ์ตามระเบียบของ WHC ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะถูกถอนหากทำไม่ทันตามกำหนดเวลา (ภายในกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓)
การประณาม WHC และ ยูเนสโก ก็เป็นวิธีที่ใช้ได้สำหรับกรณีนี้ และมีข้อมูลพร้อม
วิธีสุดท้าย คือ การซื้อเวลาด้วยการทวงคืนปราสาทพระวิหาร
เอกสารแนบท้าย




หน้าที่ ๑
หน้าที่ ๒
หน้าที่ ๓

------------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ไม่มีความคิดเห็น: