วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

ขัดแย้ง ‘พระวิหาร’ กระทบวิถีชีวิต ประชาชนไทย – กัมพูชา เสนอ ‘เปิดชายแดนทันที


เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2551 ซึ่งเป็นวันสันติภาพโลก กลุ่มประชาชนไทยและกัมพูชา 85 คน ภายใต้การประสานงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชนจัดการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันในกรณีปราสาทพระวิหาร ณ อ. อรัญญประเทศ จ.สระแก้ว ประเทศไทย และปอยเปต ประเทศกัมพูชา ทั้งยังออกแถลงการณ์ร่วมกันมีความว่า ประชาสังคมทั้งสองประเทศสามารถทำงานร่วมกันในการป้องกันความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันต่อกรณีเขาพระวิหารต่อไปในอนาคตและมีความเห็นร่วมกันว่าความไม่เข้าใจในกรณีเขาพระวิหารที่ไม่ตรงกันจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตมากยิ่งขึ้นหากไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นในการหาทางออกด้วยกระบวนการสันติวิธีแทนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเปิดชายแดนโดยทันที ขณะเดียวกันความล่าช้าของการดำเนินการทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันจะยิ่งนำมาซึ่งความเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งสอง ฝั่งชายแดน ทั้งนี้ ประชาชนทั้งสองประเทศตกลงจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและยุติความไม่เข้าใจกัน สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และกิจกรรมอื่นใดข้ามพรมแดนที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ รวมไปถึงเรียกร้องให้สื่อมวลชนทั้งสองประเทศ แสดงบทบาทสำคัญในการร่วมสร้าง สรรค์สันติภาพและมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
ข้อเสนอจากการประชุมภาคประชาชนกัมพูชา-ไทย
๒๐- ๒๑ กันยายน ๒๕๕๑
อรัญญประเทศ และปอยเปต
แถลงการณ์ร่วม
"เพื่อลดความตึงเครียด ส่งเสริมความเข้าใจที่ดีต่อกัน และสร้างสรรค์สันติภาพที่ยั่งยืน"

ในโอกาสของวันสันติภาพโลกวันนี้ เราประชาสังคมเขมรและไทย ๘๕ คนได้พบปะปรึกษาหารือกันที่ อรัญญประเทศ พระราชอาณาจักรไทย และที่ปอยเปต พระราชาณาจักรกัมพูชา เพื่อหาช่องทางที่ประชาสังคมทั้งสองประเทศสามารถทำงานร่วมกันในการป้องกันความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันต่อกรณีเขาพระวิหารต่อไปในอนาคต
๑ เรามีความเห็นร่วมกันว่าความไม่เข้าใจในกรณีเขาพระวิหารที่ไม่ตรงกันจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตมากยิ่งขึ้นหากไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
๒ เราเชื่อมั่นการหาทางออกด้วยกระบวนการสันติวิธี แทนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจึงขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเปิดชายแดนโดยทันที
๓ เรามีความเห็นร่วมกันว่าความล่าช้าของการดำเนินการทำความเข้าใจปัญหาร่วมกันจะยิ่งนำมาซึ่งความเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งสอง ฝั่งชายแดน
๔ ประชาชนทั้งสองประเทศมีความเคารพและเชื่อมั่นต่อกันจึงตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและยุติความไม่เข้าใจกัน
๕ เราสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และกิจกรรมอื่นใดข้ามพรมแดนที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
๖ เราเรียกร้องให้สื่อมวลชนทั้งสองประเทศ แสดงบทบาทสำคัญในการร่วมสร้าง สรรค์สันติภาพและมิตรภาพระหว่างสองประเทศ
อรัญญประเทศ - ปอยเปต
๒๑ กันยายน ๒๕๕๑
Conclusion from the Cambodian-Thai Civil Society Consultation
20-21 September 2008, Aranyapratet - Poipet
Joint Statement
"Helping de-escalate tensions, promoting mutual understanding and working for sustainable peace"
In the occasion of the International Peace Day, we, 85 Cambodian and Thai civil society actors have convened at the conference in Aranyapratet, Kingdom of Thailand, and Poipet, Kingdom of Cambodia, in order to explore ways in which the civil societies of both countries can work together to prevent the conflict over the issue of Preah Vihear from being further escalated.
1. We share a common concern that the conflict over the Preah Vihear issue could be further escalated, if a proper solution cannot be soon identified.
2. We strongly believe in a peaceful solution by the royal governments of the two countries, rather than military action and to reopen the border crossings for the benefit of the people.
3. We see that the delay to resolve this conflict has negatively affected the people of the two countries, especially livelihood of people on both sides of the border.
4. We agree to work collectively to reduce tensions and strengthen solidarity toward building up mutual understanding and trust between the civil societies of the two countries, and to work together to promote sustainable peace.
5. We encourage further cross-border activities between the civil societies of the two countries in order to share information, to collaborate on common issues and to increase mutual understanding. A special emphasis shall be placed on people exchange programs.
6. We call for the media of both countries to take an active role in contributing to a peaceful solution and in promoting friendship.
Aranyapratet-Poipet, 21 September 2008
-------------
ที่มา สุเจน กรรพฤทธิ์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ความคิดเห็นของคนทั่วไป

ผู้พิพากษาศาลโลกคดีเขาพระวิหาร ที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี 9 คน จากจำนวนผู้พิพากษาทั้งหมด 15 คน คือ

1 . นายโบดาน วินิอาสกิ โปแลนด์ประธ าน
2. นายริคาโด เจ อาลฟาโร ปานามา รองประธาน
3. นายจูลส์ บาเดอวัง ฝรั่งเศส
4. นายอับเดลฮามิ บาดารี อียิปต์
5. เซอร์เจอรัล ฟิตส์มอริตส์ อังกฤษ
6. นายวลาดิมีร์ คดเรดสกี้ รัสเซีย
7. นายโคดาโร ทากานะ ญี่ปุ่น
8. นายโฮเซ่ บุตามัน ริเบโร เปรู
9. นายเกตาโน่ มอเรลลี่ อิตาลี

ผู้ตัดสินให้ไทยชนะ ได้แก่ ผู้พิพากษา 3 คน คือ

1. นายมอเรโน กินตาน่า อาร์เจนติน่า
2. เซอร์เพอร์ซี่ สเปนเซอร์ ออสเตรเลีย
3. นายเวลลิงตัน คู จีนคณะชาติ ใต้หวัน

ผู้พิพากษาที่งดออกเสียง ได้แก่

1. นายสปีโรปู ลอส กรีซ ( ป่วย )
2. นายโรแบร์โต คอโดวา เม็กซิโก ( ป่วย )
3. นายฟิลิป ซี เจสซัป ( ทนายฝ่ายไทย )

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช กล่าวเมื่อปี พ.ศ.2505 หลังศาลโลกตัดสินแล้วว่า

"การไปว่าคดีนี้มันต้องพิสูจน์กันว่าความจริงสันปันน้ำมันอยู่ที่ไหน เราพาผู้ชำนาญซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีฮอลันดามา เขาเป็นผู้ชำนาญมากเรื่องแผนที่ แกก็มาชี้ขาดว่าสันปันน้ำมันอยู่ที่หน้าผาอย่างที่เราว่า เขมรเขาก็เอาผู้เชี่ยวชาญมาบ้าง ผู้ชำนาญการเขมรก็กลับมารับว่า สันปันน้ำมันเดินตามหน้าผา ก็เมื่อผู้ชำนาญของเขาเองก็มาเดินตามแนวเรา นี่คือข้อหนึ่งที่สำคัญ"

ศาลโลกบอกว่า "แผนที่เท็จ" หรือ "เอกสารเท็จ" น่ะคนขี้เมาเขียนขึ้นมา แต่ก็ให้กัมพูชาชนะคดี ยังงี้มันต้องรบกันชิงเขาพระวิหาร ตัวต่อตัวนะ ห้ามใครช่วยใคร ถ้าใครรบชนะก็เอาเขาพระวิหารไป

พระวิหาร มุมมอง นศ.ไทยในรัสเซีย

เขาพระวิหารเป็นของไทย อยู่ในเขตแดนไทยตามแนวสันปันน้ำซึ่งกำหนดขึ้นตามข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศแต่เดิมมาซึ่งฝรั่งเศสเองก็เคยร่วมทำแผนที่ยอมรับว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย

แต่เพราะการเมือง ที่เขมรไม่ยอมรับ และพยายามให้ฝรั่งเศสช่วยโดยอ้างว่าบรรพบุรุษของมันเป็นคนสร้าง จะจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่เขมรปัจจุบันไม่มีใครรู้วิธีสร้างปราสาทหินแม้แต่คนเดียว

ฝรั่งเศสเป็นหัวโจกด้านโบราณวิทยาค้นคว้าเรื่องนี้อยู่แล้ว เหมือนนักโบราณคดีอังกฤษค้นคว้าปิรามิดและมัมมี่ เลยกระโดดเข้าช่วยสุดฤทธิ์ โดยทำแผนที่ปลอมขึ้นมาในการใช้เป็น "หลักฐานเท็จ" ซึ่งผิดจากหลักภูมิศาสตร์และภูมิประเทศแถบนั้น ศาลโลกก็รู้ว่าเป็นเอกสารเท็จแต่ก็ให้เขมรชนะไทย นัยว่ายังไงเสียเขาก็ต้องให้คนผิวขาวชนะคนผิวเหลืองอยู่แล้ว

โดยมีคำพิพากษาว่าศาลไม่เอาหลักฐานอื่นนอกจากเอกสารนี้ เพราะถือว่าไทยไม่คัดค้านมาตั้งแต่ต้น โดยใช้สุภาษิตภาษาลาตินโบราณที่ว่า

"ผู้ที่นิ่งเฉยเสียไม่พูดเมื่อมีโอกาสพูดหรือสมควรพูด ให้ถือว่ายอมรับ"
คือ ศาลโลกพิพากษาว่า "การที่ไทยไม่ปฏิเสธก็ถือว่ายอมรับ"

การพิพากษาของศาลโลกในคดีนี้ทำให้ได้รับการตำหนิติเตียนจากนักกฏหมายชาวตะวันตกเป็นจำนวนมากว่า เป็นความตกต่ำถึงจุดต่ำสุดของกระบวนการพิจารณาทางกฏหมายของประเทศตะวันตก เพราะการตัดสินคดีความ นอกจากจะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมแล้ว ยังต้องมีความชัดเจนอีกด้วย เพื่อให้ปัญหาสิ้นสุดและยุติลงเพื่อไม่ให้มีกรณีพิพาทอีกในอนาคต

และมีเจ้าหน้าที่ชาติตะวันตกได้เขียนจดหมายแสดงความเสียใจมายังผู้แทนของรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่งในทำนองไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก

ท่านนายกสฤษธิ์ ธนะรัชต์ เคยกล่าวไว้ว่า "สักวันหนึ่งจะเอาเขาพระวิหารกลับคืนมาเป็นของไทยให้ได้"
เราต้องย้ายธงชาติไทยลงมาทั้งเสา เพราะทหารสั่งไม่ให้ชักธงชาติลงจากเสา เพื่อคอยว่าสักวันหนึ่งเราจะนำขึ้นไปตั้งบนเขาพระวิหารอีกครั้ง

ไทยได้ประท้วงคำตัดสินและคำสั่งของศาลโลก แต่ก็ทำอะไรมากไม่ได้ เพราะคำตัดสินของศาลโลกถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ไม่ได้ และฝรั่งเศสเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ผู้มีอำนาจบังคับไทยให้ปฏิบัติตาม และอาจใช้กำลังสมาชิกอีกสิบกว่าชาติมาบีบบังคับในกรณีที่จำเป็น ซึ่งเราสู้ไม่ไหวแน่

เขมรกับฝรั่งเศสจึงเป็นโจรปล้นปราสาทเขาพระวิหารไปจากเรา ตามคำตัดสินที่ไม่น่าเชื่อถือของศาลพระภูมิ เอ๊ย ศาลโลกที่เข้าข้างโจร

ท่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทยในคดีเขาพระวิหารได้หลุดคำพูดออกมาว่า

"ถ้าผมจะพูดบ้างล่ะว่าศาลโลกนี่มันเป็นหมา และถ้าศาลโลกไม่ออกมาปฏิเสธว่าตัวเองไม่ใช่หมา ศาลโลกมันจะยังเป็นหมาอยู่หรือไม่" ก็น่าคิดเหมือนกันนะ

นักการเมืองรุ่นใหม่อย่างนพดล อยู่ในรัฐบาลนอมินี ต้องรีบเซ็นชื่อแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของนายใหญ่ที่มีอยู่ที่นั่น
-------------
ที่มา อินเตอร์เนต

เขมรมอง พระวิหาร

PREAH VIHEAR - 'No approval needed' for heritage bid: Samak Sundaravej
The joint statement by Thailand and Cambodia backing Phnom Penh's bid to put Preah Vihear temple on the World Heritage list did not need approval from parliament, Prime Minister Samak Sundaravej said yesterday. Mr Samak used his weekly national television address to explain the issue for the first time, saying the document attached to a map showing the boundary of the temple could be approved by the government.

''Article 190 cannot be applied to this,'' he said.

The article states any treaty or agreement affecting Thai boundaries and sovereignty must be passed through parliament.

Mr Samak said the decision to ask the World Heritage Committee, which is under the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation (Unesco), to approve the temple for listing was ''Cambodia's business''.

Thailand only wanted to make sure the 4.6-square-kilometre area which both countries claim was excluded from the Cambodian plan, he added.

Some senators opposing the position had demanded the government get parliamentary approval for the statement, citing the consequences of the decision on future demarcation talks on the overlapping area between Kantharalak district of Si Sa Ket and the Cambodian province of Preah Vihear.

Krit Kraichitti, the director-general of the Treaties and Legal Affairs Department, said the joint statement was not a treaty because it only demonstrated support for the Cambodian bid.

''Preah Vihear is under Cambodian sovereignty and on Cambodian soil,'' the Foreign Ministry official said.

The department has sole responsibility for all treaties and agreements affecting Thailand. Despite different opinions on the joint statement, it could not be defined as a document affecting Thailand's sovereignty and borderlines, he said.

Foreign Minister Noppadon Pattama and Cambodian Deputy Prime Minister Sok An signed the joint statement on Tuesday, soon after cabinet endorsement.

''The Thai support on this issue is Thailand's political will. It has nothing to do with the treaty,'' Mr Krit said.

The People's Alliance for Democracy (PAD) has used the Preah Vihear issue to attack the government.

Its leaders urged the prime minister to stop the move to register the temple by Cambodia, saying it should not be a unilateral effort by Phnom Penh. They criticised the prime minister for admitting that the temple belonged to Cambodia.
----------------
ที่มา
Monday June 23, 2008
SARITDET MARUKATAT
Bangkok Post

ข้อมูลจากรายการเวทีสาธารณะ

โดยภาพรวมของรายการ คุณภารณีนำเสนอมุมมองการทำงานข้อมูลภาคประชาชนที่ค่อนข้างเด่นมาก โดยมีมุมมองของกูรูนักประวัติศาสตร์ระดับชาติ (ตอนนี้น่าจะต้องถือว่าเป็นระดับโลกไปแล้ว เมื่ออารยธรรมปราสาทเป็นมรดกโลก) คืออาจารย์นิธิกับอาจารย์ศรีศักดิ์ที่มาเปิดมุมมองเกี่ยวกับการจัดการปัญหาปราสาทพระวิหารได้อย่างกว้างขวางครอบคลุม

กล่าวโดยสรุปทั้ง 3 ท่านมีความเห็นตรงกันดังนี้

1.มรดกโลกจะเป็นมรดกโลกได้ก็ด้วยคุณค่าในเชิง "องค์ความรู้" มิใช่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เมื่อข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารยังไม่มีความร่วมมือที่ชัดเจน ประกอบกับองค์ความรู้ปราสาทพระวิหารปัจจุบันถูกตัดออกเป็นส่วนๆ ด้วยประเด็นเรื่องเขตแดน อธิปไตย และผลประโยชน์ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ปราสาทพระวิหารสูญเสียคุณค่าในเชิงมรดกโลกลงอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นได้แค่แหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น คำถามสำคัญในประเด็นนี้ก็คือ "คนที่มามรดกโลก เขาได้อะไรจากการมามรดกโลก?"

2.ปราสาทพระวิหารเป็นตัวแทนของจุดศูนย์กลางอารยธรรมหนึ่งในเครือข่ายอารยธรรมแถบลุ่มน้ำชี-มูล-ลุ่มทะเลสาบเขมรที่ติดต่อเดินทางผ่านช่องเขาต่างๆ ซึ่งมีระบบความคิดความเชื่อแบบเดียวกัน การมีปราสาทหินต่างๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณเหล่านี้มิใช่สิ่งบังเอิญ แต่เป็นศรัทธาความเชื่อพิธีกรรมเกี่ยวกับ "ผีต้นน้ำ" ในการดูแลคุ้มครองความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองในศูนย์กลางอารยธรรมทางสังคมเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆ ซึ่ง "น้ำศักดิ์สิทธิ์" จากผีต้นน้ำจะไหลไปรวบรวมใน "สระตราว" ก่อนที่จะไหลลงห้วยที่ชุมชนใช้ดื่มกิน ดังนั้นกรณีของปราสาทในแง่มุมขององค์ความรู้จึงสัมพันธ์กับลักษณะชุมชน เครือข่ายสัมพันธ์ทางสังคม และทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบที่รองรับการมีอยู่ของตัวปราสาท

3.ในการยกปราสาทเป็นมรดกโลกนั้น ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ขาดการเผยแพร่ข่าวสารและความเข้าใจในผลกระทบที่ชัดเจนว่าปราสาทเป็นมรดกโลกแล้วได้อะไรเสียอะไร สิ่งที่เป็นข่าวมักมีเนื้อหาบิดเบือนไปมาอยู่ตลอดเวลาทั้งจากฝั่งไทยและกัมพูชา

4.การบริหารจัดการปราสาทพระวิหารโดยคณะกรรมการร่วม 7 ชาติมาจากไหน? ทำไมถึงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว? ปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งสะท้อน political decision ของมหาอำนาจในคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะเข้ามาบริหารจัดการและส่งผลกระทบในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่

5.การที่คณะกรรมการมรดกโลกนำเหตุผลเกี่ยวกับ "buffer zone" เข้ามาพิจารณาและอ้างสิทธิในการให้คณะกรรมการ 7 ชาติเข้าร่วมบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว มิได้มีการชี้อย่างชัดแจ้งว่าคือพื้นที่บริเวณใด ทั้งนี้ทั้งนั้นบริเวณดังกล่าวจะต้องไม่ใช่พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงร่วมกันตั้งแต่ปี 2542 ที่มิให้มีสิ่งปลูกสร้างใดใดเพิ่มเติม

6.บทบาทไทยในปัจจุบันถูกบีบให้มีคำตอบได้แค่ say yes – say no ทั้งๆ ที่เราควรมีสิทธิในการถามกลับในรายละเอียดความร่วมมือที่ชัดเจน รวมทั้งมีสิทธิถามกลับว่า คณะกรรมการมรดกโลกได้ทำตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักขององค์กรหรือเปล่า นั่นคือการมองคุณค่าของมรดกโลกในมุมขององค์ความรู้ของมนุษยชาติ (มิใช่แหล่งศิลปกรรมแหล่งท่องเที่ยวที่ปล่อยให้ฝรั่งมายืนกอดกันถ่ายรูป)

7.ชั่งน้ำหนักให้ดีว่าถ้ายอมแล้วต้องทำแบบเค้า กับไม่ยอมแล้วทำแบบเราอะไรเป็นประโยชน์ รวมทั้งการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในลักษณะนี้นั้นทำให้เสียศักดิ์ศรีของการเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกหรือไม่

8.แนวทางปัจจุบันจึงควรแขวนเรื่อง 7 ประเทศไว้ก่อน แล้วกลับมาจัดการเป้าหมายหลักเรื่อง "แหล่งเรียนรู้ของโลก" นั่นคือสร้างความร่วมมือที่จะพัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องคือเรากับกัมพูชาให้ได้ขึ้นมาเสียก่อน ก่อนที่จะมากล่าวประเด็น Yes-No เพราะไม่เพียงที่เราจะเสียเปรียบ แต่กัมพูชาเองก็จะเสียเปรียบในคณะกรรมการบริหารร่วม 7 ชาตินี้ เริ่มจากเข้าใจประวัติศาสตร์ร่วมกัน มีความร่วมมือที่เข้าใจซึ่งกันและกันทั้งในระดับรัฐและประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในท้ายสุด

9.การที่เราจะแสดงบทบาทดังกล่าวได้ เราต้องแสดงถึงความเป็นรัฐอธิปไตยที่เข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ไม่ใช่ในลักษณะจำยอมในทางเลือกที่จำกัดซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยและสิทธิในการบริหารจัดการดังกล่าวไปในที่สุด
-------------
ที่มา
สรุปทีวีไทย วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2551 เวลา 14.00 – 15.30 น.
ผู้เข้าร่วมรายการมี 3 ท่านคือ อาจารย์นิธิ อาจารย์ศรีศักดิ์ และ คุณภารณี สวัสดิรักษ์ (จาก ICOMOST)

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

แผนที่ตามที่ปรากฏใน Foreign Affairs Bulletin


แผนที่นี้มีพิรุธ ๒ ประการ
๑) ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ยืนยันว่าหนังสือ ดร.ถนัด คอมันตร์ ไม่มีการแนบแผนที่ใดๆทั้งสิ้น
(ดูเนื้อหาในหน้า๖ ของเล่ม)
๒) เป็นแผนที่ซึ่งระบุแนวปฏิบัติการตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕ (ไม่ตรงกับรายละเอียดในแบบที่๒)
-------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

เอกสารแสดงการกำหนดบริเวณปราสาทพระวิหาร




หน้าที่ ๑
หน้าที่ ๒


หน้าที่ ๓

------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ทางแก้ไขเยียวยา

• ผู้ที่ทำความเสียหาย หรือมีส่วนทำความเสียหาย
๑) หยุดสร้างปัญหา ที่จะก่อให้เกิดภาระผูกพันต่อไป
๒) บอกความจริง เพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขและเยียวยาในวิถีทางที่ถูกต้องตรงประเด็น
• ผู้มีหน้าที่แก้ปัญหา
๑) พิจารณาว่าใครสมควรจะเป็นผู้บอกเลิกหนังสือสัญญากับกัมพูชาโดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุผลใด อ้างอิงข้อกฎหมายใด
๒) แถลงความจริงต่อประชาชน
๓) สำรวจตรวจสอบความผิดพลาดทำนองนี้ ในกรณีอื่นๆ
๔) ชำระข้อมูล และจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้และความถูกต้อง อันจะเป็นบทเรียนต่อไปในอนาคต
อนึ่ง แนวทางยกเลิกแถลงการณ์ร่วม(Joint Communiqué) ต่อ WHC ทำไม่ได้แล้วตามร่างมติข้อ ๕ (Draft Decision) เพราะถูก suspensed
ส่วนการเสนอขอเปลี่ยนแปลงมติของ WHC นั้น ต้องขึ้นอยู่กับกำหนดเวลา ปีหน้า (๒๕๕๒) แม้จะเป็นการช้าเกินการณ์ และไม่ทันต่อการดำเนินการของกัมพูชาบางเรื่อง เช่น ICC แต่ก็ควรคิดจะทำ พร้อมกันนั้นการไม่ให้ความร่วมมือกับกัมพูชา เช่น การไม่ส่งแผนพัฒนาร่วม การอ้างพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเพื่อปิดช่องเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินก็สามารถกระทำได้ และที่สำคัญคือการไม่ขึ้นทะเบียนร่วม ก็จะทำให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาไม่สมบูรณ์ตามระเบียบของ WHC ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะถูกถอนหากทำไม่ทันตามกำหนดเวลา (ภายในกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓)
การประณาม WHC และ ยูเนสโก ก็เป็นวิธีที่ใช้ได้สำหรับกรณีนี้ และมีข้อมูลพร้อม
วิธีสุดท้าย คือ การซื้อเวลาด้วยการทวงคืนปราสาทพระวิหาร
เอกสารแนบท้าย




หน้าที่ ๑
หน้าที่ ๒
หน้าที่ ๓

------------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ความเสียหายรุนแรงยังไม่จบสิ้น

สมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งกลายเป็นเอกสารหายากแล้วในเวลานี้ ยิ่งทำให้เห็นความจริงที่เป็นเรื่องความเสียหายอย่างรุนแรงว่ายังมีไม่จบสิ้น
คงมีใครเอาที่ดิน ๔.๖ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๒,๙๐๐ ไร่) ไปขายให้กัมพูชาตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๔๙ !
กัมพูชาประกาศกฤษฎีกากำหนดพื้นที่อนุรักษ์ปราสาทพระวิหารตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๔๙ และพื้นที่พัฒนา ๔.๖ ตารางกิโลเมตร “ทับซ้อนอยู่กับดินแดนไทย” และน่าสังเกตว่าในปีนี้ (๒๕๔๙) กัมพูชาก็ได้ขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอีกครั้งหนึ่งและได้รับการเสนอว่าจะให้เข้าที่ประชุมสมัยที่ ๓๑ ณ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ (อย่าลืมว่าเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๘ กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนไว้ แต่ศูนย์มรดกโลกได้ขอให้กัมพูชาเสนอเอกสารประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนใหม่ โดยเฉพาะแผนที่ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่กันชน ซึ่งกัมพูชากำหนดพื้นที่ครอบคลุมทั้งของกัมพูชาและไทย คณะทำงานของศูนย์มรดกโลกแนะนำว่าหากกัมพูชาจะร่วมมือกับไทยในเรื่องนี้ โดยขอให้ไทยกำหนดพื้นที่กันชนในเขตของไทย ก็จะทำให้การยื่นขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชามีน้ำหนักมากขึ้น กัมพูชาจึงยื่นเอกสารอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๓๐ ม.ค. ๒๕๔๙) และพื้นที่นี้ถูกนำไปกำหนดเขตในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ข้อ ๒ และข้อ ๔ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่กันชน (ดูในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ หน้า๔๒ และ ๖) อันเป็นผลผูกพันและยกเลิกต่อ WHC ไม่ได้ในขณะนี้ หรือแม้แต่ขอยกเลิกต่อกัมพูชา
ความพยายามเลี่ยงบาลีของหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรง ๒ หน่วยงาน คือ กระทรวงการต่างประเทศ กับกรมแผนที่ทหาร ที่เลี่ยงไปใช้คำว่า “พื้นที่ทับซ้อน” และ “เส้นเขตแดนตามมติ ครม. ๒๕๐๕” หรือที่พยายามอธิบายว่า “เส้นเขตแดนที่ต่างกัน” นั้น ความต่างกันจึงไม่ใช่จากแผนที่คนละฉบับหรือแผนที่ที่ต่างกันเหมือนก่อนปี ๒๕๔๙ หากแต่เป็นต่างกันเพราะการยอมรับเส้นเขตแดนใหม่ของกัมพูชา ตามแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำแต่ฝ่ายเดียว บวกกับเขตพื้นที่อนุรักษ์ปราสาทพระวิหารและพื้นที่พัฒนาตามประกาศกฤษฎีกา เดือนเมษายน ๒๕๔๙ ของกัมพูชา

แผนที่และคำอธิบายในสมุดปกขาวหน้า ๘ ของ กระทรวงการต่างประเทศ

แล้วจะจัดการอย่างไรต่อเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ หากมีการขึ้นทะเบียนร่วมของไทย ตอบได้ว่า ผลผูกพันนั้นก็จะยิ่งหนักหนาต่อไป การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์จะมีปัญหามาก เพราะกัมพูชาจะถือว่า
๑) ดินแดนเป็นของตน
๒) โครงการเป็นของตน และกำหนดโดยตน และ
๓) กรรมการดูแลมาตรฐานเป็นนานาชาติที่กัมพูชาเชื้อเชิญมา การที่ไทยเข้าไปร่วมด้วยอีก ๑ ชาติจะต้องรู้ตัวว่าไม่ใช่ชาติเจ้าของดินแดน หรือเจ้าอธิปไตยแต่อย่างใด
การขอขึ้นทะเบียนร่วมของไทยที่ WHC กล่าวว่าขอซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น จึงเป็นการกลบเกลื่อนให้แนบเนียนเพราะคิดว่าจะไม่มีใครรู้เรื่องการยอมยกดินแดน ๔.๖ ตารงกิโลเมตร ให้กัมพูชาไป แล้วทำให้กัมพูชายืนยันได้ว่าการขึ้นทะเบียนของตนจะไม่มีผลกระทบต่อเขตแดน (สมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ หน้า๑๑) นักการเมืองและข้าราชการไทยถึงออกมาโต้อยู่ตลอดเวลาว่าไม่เสียดินแดน พูดได้เพราะว่าได้รับรองดินแดน ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ว่าเป็นของกัมพูชาตามประกาศกฤษฎีกาเขตพื้นที่อนุรักษ์ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาไปเรียบร้อยแล้ว
แผนที่ใหม่ของกัมพูชา จึงเป็นแผนที่ที่ปรับเปลี่ยนตามประกาศกฤษฎีกา เดือนเมษายน ๒๕๔๙ การที่ฝ่ายไทยไปยอมรับแผนที่ใหม่ของกัมพูชาย่อมมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ซึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายระหว่างประเทศคือสนธิสัญญา ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นคำว่า “การปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ” จึงถูกนำมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความชอบธรรม กันความผิด ในการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตในครั้งนี้ ความคิดที่แยบยลมากกว่านี้ที่จะแปลงความผิดให้เป็นภาระผูกพันที่เกิดขึ้นกับเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก คือ การดำเนินการให้ฝ่ายไทย “ขึ้นทะเบียนร่วม”
การขึ้นทะเบียนร่วมด้วยเงื่อนไขนี้แม้จะอ้างเหตุผลความงดงามแห่งวัฒนธรรมก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย เพราะการที่ประเทศไทยนำเอาโบราณสถานของไทยและดินแดนของประเทศไทยไปขึ้นทะเบียนร่วมกับกัมพูชานั้นประเทศไทยจะตกอยู่ในสภาพ หรือภาระผูกพัน ดังนี้
๑) กัมพูชาจะเป็นผู้บริหารจัดการหลัก และสามารถบริหารในส่วนที่เป็นโบราณสถานของไทยและพื้นที่ของไทย (๔.๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒,๙๐๐ ไร่) ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปกับพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่กันชน ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นของกัมพูชาทั้งหมด
๒) ประเทศไทยไม่มีสิทธิบริหารจัดการพื้นที่และโบราณสถานของไทยเองโดยลำพัง แต่ไทยจะเป็นเพียงหนึ่งในเจ็ดประเทศ(ICC) ที่จะเข้ามาจัดการมรดกอันเป็นของไทย โดยอ้างความเป็นมาตรฐานสากล
ผู้มีส่วนสร้างปัญหาทั้งหลาย พยายามผลักดันเรื่องนี้ด้วยการดำเนินการอย่างเร่งรีบให้ทันภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
ในสังคมสมัยใหม่และการเมืองแบบใหม่ ไม่ใช่การเมืองเผด็จการเสียงข้างมาก เรื่องเช่นนี้จะถูกตรวจสอบ ไม่ช้าก็เร็วก็จะรู้ว่าพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรนั้น แม้จะเป็นที่รกชัฏห่างไกล แต่ก็เป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย
หมู่บ้านในพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร มี ๕ หมู่บ้านคือ หมู่บ้านภูมิซรอล หมู่ที่๒ ต.เสาธงชัย หมู่บ้านภูมิซรอล๒ หมู่ที่๑๒ ต.เสาธงชัย หมู่บ้านภูมิซรอลใหม่ หมู่ที่๑๓ ต.เสาธงชัย หมู่บ้านชำเม็ง หมู่ที่๓ ต.เสาธงชัย และบ้านโนนเจริญ หมู่ที่๑๐ ต.เสาธงชัย
ชาวบ้านอาศัยอยู่ตามชายขอบทางทิศเหนือ แถบริมถนน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
หากพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรนี้ เป็นพื้นที่กันชนและต้องอยู่ในการบริหารจัดการมรดกโลกจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาแล้ว ปัญหาที่ตามติดต่อมา คือ เรื่องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สัญชาติ ฯลฯ ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบความคิดเรื่องเขตแดนที่หมายถึงประโยชน์และความเป็นธรรม เป็นงานที่ทีมวิชาการนี้เคยได้สัมผัสและตระหนักมาแล้วจากกรณีเขตแดนไทยลาว

แผนที่แสดงเขตชุมชนอำเภอกันทรลักษ์

-----------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ขยายความในร่างข้อมติ (Draft Decision)

ร่างมติข้อสำคัญๆ กับข้อที่มีนัยเกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนร่วมของไทย มีดังนี้
• ร่างมติข้อ 8 รับรองแล้วเรื่องการขึ้นทะเบียนร่วม
การที่ฝ่ายไทยแสดงความปรารถนาขอขึ้นทะเบียนร่วม ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น มีการรับรองแล้วในร่างของมติการประชุมที่ควิเบค แคนาดา (ร่างมติข้อ 8) จะเห็นว่า มีการค้นคว้าทางโบราณคดี ทั้งที่ดำเนินการเสร็จแล้ว และที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะส่งให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาในลักษณะการขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดน (ร่างมติข้อ 10) ด้วยเหตุผลว่า ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้คุณค่าปราสาทพระวิหารมาช้านาน และเป็นการเสนอองค์ประกอบ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสมบูรณ์และภูมิทัศน์ของมรดกโลก ดังนั้น การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพิ่มเติมโดยฝ่ายไทยซึ่งเป็นผู้ให้ความร่วมมือกัมพูชาอยู่ จะเข้าเกณฑ์ข้อที่ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการรับรองแล้ว โดยมีคำตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกที่แคนาดา (ร่างมติข้อ 11) การให้คำรับรองจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่เมืองควิเบคนี้ จึงเรียกร้องเพิ่มเติมให้รัฐบาลผู้ให้ความร่วมมือ และหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าตรวจสอบและดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล (ร่างมติข้อ 14)
• นอกจากนี้ ในร่างมติข้อ ๑๔ ของคณะกรรมการมรดกโลกยังระบุว่า
ให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยความร่วมมือกับยูเนสโก ให้จัดการประชุมคณะกรรมการชาติที่เป็นผู้คอยดูแลความปลอดภัย และการพัฒนาทรัพย์สินไม่ช้ากว่าเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยเชิญให้รัฐบาลไทยเข้าร่วม รวมทั้งชาติหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่เหมาะสมไม่เกิน ๗ ชาติ เพื่อตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัยของทรัพย์สินที่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นสากล ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ของสากลด้วย
(“ Requests the State Party of Cambodia, in collaboration with UNESCO, to convene an international coordinating committee for the safeguarding and development of the property no later than February 2009, inviting the participation of the government of Thailand and not more than seven other appropriate international partners, to examine general policy matters relating to the safeguarding of the outstanding universal of the property in conformity with international conservation standards.”)

• ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย ก่อนหน้านายปองพล อดิเรกสาร ได้ตั้งข้อสังเกตกลไกนี้ด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีมรดกโลกแห่งใด ใช้กลไกนี้ เพราะจะทำให้ชาติอื่น ๆ ที่ร่วมเข้ามาอีก ๖ ชาติ เข้าแทรกแซงปกป้องกัมพูชา และกดดันไทยในการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ต้องตกเป็นพื้นที่กันชน โดยที่กัมพูชาเป็นผู้กำหนดมาตรการทางกฎหมายและทางบริหารจัดการไว้ในแผนบริหารจัดการพื้นที่ของทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งนี้
นอกจากนี้ การที่ที่ประชุมไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ แต่พอถึงเวลานี้กลับมีมติ แสดงว่า ฝ่ายไทยไม่มีการท้วงติง ทั้ง ๆ ที่กระทบถึงสิทธิประโยชน์ของประเทศอย่างชัดเจน ด้วยเรื่องพื้นที่กันชน และแผนบริหารจัดการพื้นที่นี้ยังไม่คิดวิตกกังวลว่า จะมีวาระซ่อนเร้นอยู่อีก เพราะที่เห็นในเวลานี้ ก็ยังเป็นเพียงร่างของมติหรือ Draft Decision ซึ่งยังไม่ใช่มติตัวจริงที่จะให้เห็นว่าเป็นอย่างไรได้อีก
• ให้กัมพูชาส่งแผนที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของพื้นที่กันชน ที่ระบุใน RGPP (ร่างมติข้อ ๑๕ (a))
• เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนล่าสุดที่แสดงถึงความแตกต่างจากเดิมอันสะท้อนให้เห็นความครบถ้วนสมบูรณ์ของทรัพย์สิน (ร่างมติข้อ15) ความหมายของข้อนี้เป็นอย่างไรนั้นโปรดนึกถึงการเสนอขึ้นทะเบียนองค์ประกอบของปราสาทพระวิหารฝั่งไทย ในลักษณะการขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดน ที่ ICOMOS ไทย และ นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย พยายามเสนอ และมีนายพิษณุ สุวรรณชฏ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ เป็นตัวหลักในการดำเนินการ)
• สุดท้าย กัมพูชาจะต้องส่งเพิ่มเติมแผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์ ใช้คำว่า “Full Management Plan” สำหรับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก รวมทั้งแผนที่ที่ทำเป็นยกสุดท้าย ( a finalized map) ซึ่งตอนแรกได้ส่งแผนที่แสดงขอบเขตของตัวปราสาทที่ขอขึ้นทะเบียนแต่ยังไม่กำหนด”พื้นที่ทับซ้อน” ขั้นต่อมาคือกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่ทับซ้อน และสุดท้ายส่งแผนที่ใหม่ซึ่งแสดงขอบเขตพื้นที่ต่างๆ พิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ แทนแผนที่เดิมทั้งหมด จึงเป็นข้อสังเกตว่า สอดคล้องกับการวางแผนร่วมกันให้มีการเสนอร่วมเข้าไปอีกกับปราสาทพระวิหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว ถือว่าเป็นการประเคนให้กัมพูชาอย่างสมบูรณ์
ความสมบูรณ์จะมีผลเมื่อทำให้เสร็จทันภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 และจะมีมติจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34

แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ทำให้คนไทยช็อคกันมาแล้ว แต่การนำเอาผลของแถลงการณ์ร่วมฉบับนั้นมาประกบกับร่างมติ (Draft Decision) ของ WHC ยิ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ คำนวณเฉพาะพื้นที่ได้คร่าวๆ ดังนี้
1. ยกพื้นที่บริเวณพื้นที่รอบปราสาทให้กัมพูชา
2. ยกพื้นที่บริเวณเขาพระวิหาร ให้อยู่ในเขตแดนของกัมพูชาภายใต้เหตุผล เพื่อความสมบูรณ์และความงดงามทางวัฒนธรรม-อารยธรรม (ตามร่างมติข้อ 8,14,15 และ 16)
3. ยกพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารให้กัมพูชาด้วยเหตุผลด้านภูมิทัศน์ จะมากหรือน้อยอยู่ที่แผนพัฒนาร่วม อันอาจจะครอบคลุมบางส่วนในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี(บ้านน้ำยืน)
4. พื้นที่ของไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่รัฐบาลไทยไม่ยอมยืนยันในอาณาเขตของตนตามแผนที่เส้นเขตแดนของตน แต่กลับไปรับรองยืนยันในแผนที่ของกัมพูชา แม้จะรู้และอ้างอยู่เสมอว่าถือแผนที่กันคนละฉบับ และเรียกพื้นที่นี้ว่า “พื้นที่ทับซ้อน” มีรัฐบาลเท่านั้นที่ได้แสดงเจตนายินยอมให้พื้นที่อยู่ในการบริหารจัดการของ ICC ภายใต้แผนแม่บทมรดกโลกของกัมพูชา
ทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้คิดรวมถึงอธิปไตยของชาติ อธิปไตยของพลเมือง ความเป็นธรรม และประโยชน์หลากหลายมิติ รวมถึงมิติทางวัฒนธรรม สัญชาติ และชาติพันธุ์ ที่ต้องถูกผลกระทบโดยตรง
ชีวิต หรือตำแหน่งของบุคคลที่ไม่ปรารถนาดี ไม่มีค่าพอจะทดแทนความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ได้
---------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ขยายความใน Joint Communiqué (แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา)

• แถลงการณ์ร่วมข้อที่๑ ในส่วนของพื้นที่นั้นกล่าวว่า “...ผังของการขึ้นทะเบียนครั้งนี้ถูกแสดงโดยหมายเลข๑ ในแผนที่ซึ่งเตรียมโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาที่แนบมาด้วยนี้ และหมายเลข๒ ซึ่งเป็นพื้นที่กันชน(Buffer Zone)ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาท…” ในส่วนของหมายเลข๑จะเห็นว่าแท้จริงแล้วกัมพูชาไม่มีสิทธินอกเหนือจากตัวปราสาทเลย(โปรดดูคำอธิบายของนักวิชาการเรื่อง การเข้าใจผิดเรื่องเส้นเขตแดนตามมติครม.๒๕๐๕) การยอมให้กัมพูชานำพื้นที่รอบตัวปราสาทไปขึ้นทะเบียนเพียงฝ่ายเดียวจึงเท่ากับเป็นการยินยอมยกดินแดนให้กัมพูชา
• แถลงการณ์ร่วมข้อที่๒ กล่าวไว้ราวกับกัมพูชาเป็นเจ้าของพื้นที่ว่า “ด้วยเจตนารมณ์แห่งมิตรไมตรี และการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าการยื่นเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในขั้นนี้จะยังไม่รวมพื้นที่กันชนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของตัวปราสาท” หมายความว่าในขั้นต่อไปจะต้องผนวกรวมพื้นที่กันชนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกรวมเข้าไปด้วย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นดินแดนไทย เท่ากับว่าไทยจะต้องยกพื้นที่อันเป็นของไทยรวมเข้าไปกับมรดกโลกของกัมพูชาด้วย แต่ในแผนที่ฉบับนี้กลับไม่ปรากฏเส้นเขตแดนของไทย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาอย่างชัดแจ้งว่ากัมพูชาถือเอาพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารทั้งหมดอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา
• แถลงการณ์ร่วมข้อที่๓ กล่าวว่า “แผนที่ที่กล่าวถึงในย่อหน้าที่๑ ก่อนหน้านี้จะใช้แทนแผนที่ทั้งหมดตลอดจนรูปภาพอ้างอิงต่างๆที่แสดงให้เห็นเขตคุ้มครอง(Core Zone) และการกำหนดเขตอื่นๆ(other zonage)ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ข้อนี้เป็นปัญหามาก เพราะพื้นที่หมายเลข๓ ยังไม่มีการระบุเขตที่ชัดเจนและจะเกิดปัญหาการรุกล้ำเขตแดนไทยซึ่งเป็นบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
• แถลงการณ์ร่วมข้อที่๔ กล่าวว่า “ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม(JBC) พื้นที่รอบปราสาทด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกที่กล่าวถึงในหมายเลข๓ ตามแผนที่ข้างบนนั้น พื้นที่นี้จะมีการจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกันโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและไทย อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ในระดับสากล เพื่อธำรงรักษาคุณค่าอันเป็นสากลของตัวปราสาท ทั้งนี้จะรวมเอาแผนบริหารจัดการพื้นที่นี้เข้าไว้ในแผนบริหารจัดการขั้นสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะถูกบรรจุเข้าไว้ในศูนย์มรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่๓๔ ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐” ในข้อนี้จะเห็นว่าการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมจะจัดทำขึ้นโดยกัมพูชาและไทย แต่ผลจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าจะมีหน่วยงานของ ๗ ประเทศเข้ามาร่วมทำแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยประเทศไทยจะเป็นเพียงหนึ่งในนั้น ซึ่งจะเป็นผลเสียและจะเป็นปัญหายุ่งยากสำหรับไทยตามมาอีกมากมาย เช่น อธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหาร สิทธิสภาพนอกอาณาเขต การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ปัญหาสิ่งแวดล้อม การบังคับใช้กฎหมายอุทยานของไทย ฯลฯ
• แถลงการณ์ร่วมข้อที่๕ กล่าวว่า “การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการร่วม(JBC)จะไม่ละเมิดต่อสิทธิของทั้งสองประเทศ ต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชานั้น ที่จะเป็นปัญหาจากแถลงการณ์ร่วมข้อนี้คือ หากมีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนมาถึงบริเวณปราสาทพระวิหารนี้ กัมพูชาสามารถจะอ้างได้ว่าพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมดเป็นดินแดนของกัมพูชา เพราะกัมพูชามีข้อได้เปรียบดังนี้
๑) กัมพูชามีท่าทีที่ชัดเจนและยืนยันมาตลอดว่าเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา ตามแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ โดยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับไทยแต่อย่างใด
๒) กัมพูชาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขาพระวิหารมากกว่าไทยโดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น การตั้งชุมชนบ้านเรือนร้านค้าบริเวณทางขึ้นตัวปราสาท การตั้งชุมชนและวัดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวปราสาท การตัดถนนจากบ้านโกมุยขึ้นมาที่ตัวปราสาทพระวิหาร
๓) ไทยได้รับรองแผนที่แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมซึ่งกัมพูชาทำขึ้นโดยไม่ได้คัดค้าน ในกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
๔) ทางการไทยยอมรับรองว่าแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชาเป็นแผนที่คณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔ (อธิบายแล้วในเรื่อง การใช้คำว่าแผนที่คณะกรรมการปักปันฯ)
๕) ทางการไทยยอมให้ ๗ ประเทศเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ ทั้งๆที่ไทยเคยยืนยันมาตลอดว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของไทย เท่ากับไทยละทิ้งอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร
๖) ไทยยอมละสิทธิโดยการยอมรับว่า”การปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ” หมายความว่า คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมจะไม่สามารถจัดทำหลักเขตแดนตามสันปันน้ำได้ แต่อาจจะต้องยึดตามแผนที่ของกัมพูชาซึ่งถูกรับรองโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันร่วมสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔
-------------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ไทยไม่ควรขึ้นทะเบียนร่วม

เอกสารสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐาน (นอกเหนือจากการสนับสนุนอย่างแข็งขันและการรับรองอย่างไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ แล้ว) มี
1. ร่างข้อมติ 32COM 8B.102 (หรือ Draft Decision 32COM)
2. Statement by Mr.Pongpol , Chairman of NWHCT at the 32nd Session of the WHC. July 7 , 2008
3. Joint Communiqué. June 18 , 2008
4. สมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ในช่วงที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น รัฐบาลไทยแสดงท่าทีสนับสนุนอย่างแข็งขัน รวมทั้งให้การรับรองเสมือนไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ อาจรวบรวมให้เห็นได้ดังนี้

การสนับสนุนอย่างแข็งขัน และการรับรองอย่างไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
• อ้างว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ไม่เสียดินแดน และไม่กระทบอธิปไตยเหนือดินแดนของไทย
• อ้างว่า กัมพูชามีสถานภาพการถือครองตัวปราสาทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ที่ไทยมอบการถือครองให้ตามคำพิพากษาของศาลโลก โดยไม่บ่งชี้ หรืออาจจะเรียกได้ว่า ปฏิเสธการสงวนสิทธิของไทย
• อ้างว่า การปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• อ้างว่า แผนที่ของกัมพูชาเป็นแผนที่คณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• การบิดเบือนไปถือเอาเส้นปฏิบัติการ (Operation Guide Lines) เป็นเส้นเขตแดนตามมติครม. 2505 ซึ่งเป็นเท็จ (มีเอกสารแนบ)
• เบี่ยงเบนข้อเท็จจริง รวมถึงหลีกเลี่ยงที่จะบอกถึงเรื่องพื้นที่กันชน (Buffer Zone) และแผนจัดการพื้นที่รอบปราสาท ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้ตามข้อบัญญัติ
ปรากฏการณ์หลังมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราจะเห็นท่าทีของนายปองพล อดิเรกสาร (ประธาน NWHCT) เสนอต่อสังคม ให้ไทยขึ้นทะเบียนร่วมองค์ประกอบต่างๆของปราสาทพระวิหารในฝั่งไทย
Statement ของนายปองพล อดิเรกสาร ต่อ WHC เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2551(ค.ศ.2008) มีสาระสำคัญที่หน้า 3 ของเอกสาร ที่ว่า
“ The inscribtion of Preah Vihear should be further retended with the cooperation of Thailand and should be developed into a model case of transboundary nomination, and even a mixed cultural and natural nomination…”
และย่อหน้าสุดท้ายว่า “ We are thankful that the committee has agreed that would be desirable in the future to possible inscribtion to capture criteria (iii) and (iv). To do this I strongly believe, the cultural and natural landscapes on the northern part of the Temple which lie in the Thai territory……”
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธาน NWHCT เมื่อให้สัมภาษณ์ข้อคิดเห็นของท่านต่อทีมนักวิชาการ ได้เตือนเรื่องการขึ้นทะเบียนแบบ mixed cultural and natural nomination ทั้งๆที่เอกสาร Draft Decision 32 COM ยังไม่ออกเผยแพร่ รวมทั้งเตือนเรื่อง ICC ด้วยว่าเป็นประวัติการณ์ ไม่เคยมีที่ไหน แม้ที่นั้นจะมีปัญหาอย่างมาก เช่น กรณีกรุงโรม-นครวาติกัน ,Statement ของนายปองพล อดิเรกสาร ต้องเทียบกับร่างข้อมติ (Draft Decision) และสาระในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Communiqué) จึงจะเห็นความจงใจของ “ผู้กระทำ” รวมถึงหายนะที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย
-----------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

การเข้าใจผิดเรื่อง“เส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕”





ภาพที่๑ แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชาภาพที่๒ อ้างว่าเป็นเส้นเขตแดนตามมติครม.๒๕๐๕


ภาพที่๓ ประตูเหล็กและรั้วลวดหนามตามมติครม.๒๕๐๕ภาพที่๔ แผนที่แนบท้ายแถลงการณ์ร่วม รวมเอาบันไดของไทยไปด้วยทั้งหมด

จากการที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยและกรมแผนที่ทหารและหน่วยราชการต่างๆของไทยได้เกิดความเข้าใจผิดว่า เส้นแสดงเขตที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ให้กั้นแนวปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่ระบุว่าไทยต้องถอนกองกำลังออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเส้นเขตแดน หรือความเข้าใจผิดว่ามติครม.๒๕๐๕ นั้นเป็นการเปลี่ยนเส้นเขตแดนของไทย ดังปรากฏข้อความต่อไปนี้ในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศว่า “...คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้คืนตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบปราสาทไปตามที่ศาลโลกตัดสิน และได้มีการกำหนดขอบเขตเส้นเขตแดนไทยบริเวณนี้ตามที่ไทยยึดถือใหม่ ซึ่งยังคงยึดถือตามสันปันน้ำเป็นหลัก เพียงแต่ได้กันเอาเขตตัวปราสาทพระวิหารออกคืนไปให้กัมพูชา เส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕ นี้ ยังเป็นเส้นเขตแดนที่หน่วยราชการต่างๆของไทยยึดถือมาจนถึงปัจจุบันนี้...” (อ้าง สมุดปกขาวกระทรวงการต่างประเทศ มิถุนายน ๒๕๕๑ กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หน้า ก บทสรุปผู้บริหาร)
และตามที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำเอกสารกล่าวหาว่า รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (เมื่อพ.ศ.๒๕๐๕) ได้มีหนังสือแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติ และ ”....โดยได้ส่งแผนที่แสดงพื้นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร ซึ่งสอดคล้องกับที่มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๐๕ (เอกสารแนบ๓) และขอให้เลขาธิการสหประชาชาติแจ้งให้สมาชิกสหประชาชาติทราบว่าไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยสละอธิปไตย (relinquished her sovereignty) เหนือพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทพระวิหารตามแผนที่ดังกล่าว...” ( อ้าง กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เอกสารชี้แจง เรื่อง ภูมิหลังและคำชี้แจงเกี่ยวกับการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ลง วันที่ ๒๗ มิ.ย. ๕๑ เวลา ๒๒.๐๐ น.)
ข้อเท็จจริง
• ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ และหนังสือสั่งการลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ให้กระทรวงมหาดไทยไปจัดทำแนว ทำป้ายและกั้นรั้วลวดหนามรอบปราสาทพระวิหารนั้น เป็นการกั้นแนวเจตนาเพื่อเป็นการแสดงแนวปฏิบัติการ(Operational Line)ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และเป็นการปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่ระบุว่าไทยต้องถอนกองกำลังออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่เป็นการกำหนดเส้นเขตแดน(Border Line) ใหม่ (อ้าง มติครม.วันที่ ๑๐ ก.ค.๒๕๐๕ และหนังสือสั่งการของเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ มท.๘๑๗๖/๒๕๐๕ ถึงรมว.มหาดไทย เรื่อง การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ ๑๑ ก.ค.๒๕๐๕)
ดังนั้นมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕ จึงไม่ใช่การเปลี่ยนเส้นเขตแดนของไทย เส้นเขตแดนของไทยที่เขาพระวิหารยังอยู่ที่สันปันน้ำเหมือนเมื่อก่อนที่ศาลโลกตัดสินทุกประการ
• แผนที่แสดงการกั้นแนวเขตตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕ ที่ปรากฏอยู่ในสมุดปกขาว(เอกสารแนบ๓) ของกระทรวงการต่างประเทศนั้น (รูปภาพที่๑) แสดงการลากเส้นตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๕๐๕ ครอบคลุมบันไดทางขึ้นทั้งหมดให้เป็นของกัมพูชา ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากหลักฐานอื่นๆที่ปรากฏ เช่น หนังสือกระทรวงมหาดไทย ในข้อเสนอทางเลือกที่๒ ที่เสนอว่า “...กำหนดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าครอบปราสาทพระวิหาร มีแนวเขตจากปีกขวาของตัวปราสาทพระวิหารตั้งแต่ช่องบันไดหัก (ช่องบันไดหักอยู่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร) ลากเส้นตรงผ่านชิดบันไดนาค ตรงไปจนถึงปราสาทพระวิหาร แล้วลากเส้นตรงขนานกับตัวปราสาทพระวิหารไปสุดที่หน้าผาชันด้านหลังปราสาทพระวิหาร จะเป็นเนื้อที่บริเวณปราสาทพระวิหารประมาณ ๑/๔ ตารางกิโลเมตร...” (อ้าง หนังสือกระทรวงมหาดไทย เลขที่๑๑๔๖๗/๒๕๐๕ เรื่อง การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ ๖ ก.ค.๒๕๐๕)
และข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศด้วยเช่นกันในหน้าที่๒ ว่า”…มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ รัฐบาลไทยได้คืนตัวปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่คืนให้แก่ฝ่ายกัมพูชาทางทิศเหนือที่ระยะ ๒๐ เมตร จากบันไดนาคไปทางตะวันออกจนถึงช่องบันไดหัก และทางทิศตะวันตกที่ระยะ ๑๐๐ เมตรจากแกนของตัวปราสาทไปทางทิศใต้จนจรดขอบหน้าผา...”
• การที่กระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าแนวดังกล่าวเป็นเส้นเขตแดนจะเท่ากับเป็นการยกพื้นที่รอบตัวปราสาทซึ่งนอกเหนือจากคำตัดสินของศาลโลกให้เป็นของกัมพูชาโดยปริยาย การนำเอาแผนที่ที่ผิดมาใช้อ้างดังนี้จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม จะทำให้เกิดผลเสียหายตามมาอย่างน้อย ๓ ประการคือ ประการที่๑ ยกพื้นที่รอบตัวปราสาทนอกเหนือจากคำตัดสินของศาลโลกให้กัมพูชา ประการที่๒ ยกบันไดทางขึ้นปราสาทตั้งแต่ขั้นที่ ๑-๑๖๒ ซึ่งเคยเป็นของไทยให้กับกัมพูชา ประการที่๓ ละทิ้งการสงวนสิทธิของไทยเหนือปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบปราสาท
• คณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ไม่ได้ยกบันไดทางขึ้นปราสาทให้กัมพูชา และได้ทำประตูเหล็กกั้นบันไดทางขึ้น(รูปภาพที่๒) ซึ่งไทยครอบครองบันไดทางขึ้นหลักตั้งแต่ขั้นที่๑-๑๖๒ มาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๐๕ แม้กัมพูชาจะอ้างว่าการกั้นรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทและประตูเหล็กนี้ไทยเป็นผู้จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียวก็ตาม แต่กัมพูชาก็ยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาหลายสิบปี(พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๔๒) เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยเป็นผู้ครอบครองทางขึ้นหลักของปราสาทพระวิหารมาก่อนที่กัมพูชาจะนำเอาไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
• ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในขณะนั้น เป็นผู้ร่างหนังสือแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติฉบับดังกล่าวให้แก่ ฯพณฯ ดร.ถนัด คอมันตร์ ด้วยตนเอง ยืนยันว่า หนังสือฉบับดังกล่าว(ซึ่งร่างเอง)ไม่มีการแนบแผนที่แสดงที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารตามที่กระทรวงการต่างประเทศกล่าวอ้างแต่อย่างใด และในหนังสือฉบับดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการแนบ(attach)เอกสารใดๆตรงตามที่ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ยืนยันทุกประการ (อ้าง Ministry of Foreign Affairs NOTE TO U.N. ACTING SECRETARY-GENERAL No.(0601)22239/2505 July 6,B.E.2505(1962))
-------------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

การรับรองแผนที่ของกัมพูชาเป็น “แผนที่คณะกรรมการปักปันสยามฝรั่งเศส”

ประเด็นสำคัญของการอ้างคำว่า”แผนที่คณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔” คือ การบิดเบือนข้อเท็จจริงและเป็นการรับรองแผนที่ของกัมพูชา
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ใช้คำว่า”แผนที่คณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส”เรียกแผนที่ซึ่งกัมพูชาใช้ยึดถือเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ดังปรากฏในเอกสารแนบหมายเลข ๒ ในหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ หมายเลข กต.๐๘๐๓/๔๕๓ ส่งไปยังราชเลขาธิการ เรื่อง ผลการดำเนินการและการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศกรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ และกล่าวอีกหลายครั้งในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการกล่าวในลักษณะยอมรับสถานภาพของแผนที่ของกัมพูชาว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันร่วมสยาม-ฝรั่งเศส ทำขึ้นร่วมกันตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และกัมพูชาเป็นผู้ใช้แผนที่ฉบับนี้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันทำให้แผนที่ L๗๐๑๗ ซึ่งประเทศไทยใช้ยึดถือนั้นมีสถานะด้อยกว่าแผนที่ของกัมพูชา


ข้อเท็จจริง
• แผนที่ของกัมพูชา มาตราส่วน ๑/๒๐๐,๐๐๐ ดังกล่าวเป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ แต่ประการใด เนื่องจากคณะกรรมการผสมชุดดังกล่าวได้ยุบเลิกไปในเดือนมีนาคม ๑๙๐๗ ก่อนที่จะมีการจัดทำแผนที่ฉบับดังกล่าวขึ้นมาเป็นเวลาถึง ๑ ปี ส่วนแผนที่ฉบับนี้(๑/๒๐๐,๐๐๐) ได้ถูกพิมพ์ขึ้นที่กรุงปารีส ในระหว่างฤดูร้อนปี ค.ศ.๑๙๐๘ ดังนั้นคณะกรรมการผสมที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา ๑๙๐๔ จึงไม่มีโอกาสได้เห็นแผนที่ฉบับดังกล่าวเลย ดังนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่าแผนที่ฉบับนี้(๑/๒๐๐,๐๐๐)เป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔
• แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ฉบับดังกล่าวนั้น กัมพูชาเคยใช้เป็นเอกสารแนบท้ายคำฟ้อง(แผนที่ผนวก๑) ในคดีปราสาทพระวิหาร ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(The International Court of Justice)หรือศาลโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๐๕ ดังปรากฏว่า ในคำขอทั้ง ๕ ข้อที่กัมพูชาขอให้ศาลชี้ขาดนั้น ศาลได้ตัดสินให้กัมพูชาชนะเพียง ๓ ข้อ(ข้อ๓,๔,๕) คือ (ข้อ๓)กัมพูชามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ตัวปราสาทตั้งอยู่ (ข้อ๔)ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหาร ตำรวจหรือยามออกจากออกจากบริเวณใกล้เคียง (ข้อ๕)ขอให้ไทยคืนวัตถุโบราณที่หายไปจากปราสาทหลัง ค.ศ.๑๙๕๔ โดยไม่ได้ระบุรายการว่ามีอะไรบ้าง(คำพิพากษาหน้า๓๕/๓๗) ส่วนข้อ๑ และข้อ๒ นั้นศาลมิได้ชี้ขาดว่า แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ นั้นเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการผสมทั้งสองฝ่าย หรือมีสถานภาพตามกฎหมายที่ถูกต้อง และข้อ๒ ศาลไม่ได้ชี้ขาดว่า เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชาเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้องระหว่างไทยกับกัมพูชา
• ผู้พิพากษา ๓ ท่าน ได้ให้ความเห็นต่อแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชาไว้อย่างชัดเจนว่า
๑) แผนที่ผนวก๑ นั้นผิดพลาดไม่ถูกต้องในบริเวณปราสาทพระวิหาร
๒) เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ผนวก๑ นั้นคลาดเคลื่อน และ
๓) เส้นสันปันน้ำตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ อยู่ที่ขอบหน้าผาในบริเวณปราสาทคือเส้นเขตแดนปันปราสาททั้งหมดให้อยู่ในเขตไทย (อ้าง คำพิพากษาศาลโลก คดีปราสาทพระวิหาร /ความเห็นแย้งของ Sir Percy Spender, Wellington Koo, Moreno Quintana และยังมีคำพิพากษา(เอกเทศ)ของ Sir Gerald Fitzmaurice)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแผนที่๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชา ไม่ใช่แผนที่ของคณะกรรมการปักปันร่วมสยาม-ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ เป็นเส้นเขตแดนที่ขัดแย้งกับสนธิสัญญาค.ศ.๑๙๐๔ และเป็นเส้นเขตแดนที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลากไว้โดยปราศจากอำนาจ จึงเป็นแผนที่โคมลอยที่เชื่อถือไม่ได้ (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คดีเขาพระวิหาร ๒๕๐๕ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี สี่แยกซังฮี้ ถนนสามเสน พระนคร หน้า ๔๗/๔๘)
--------------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

ความหมายที่แตกต่างกันระหว่างคำว่า “การปักปันเขตแดน”และ “การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน”

การปักปันเขตแดนของประเทศไทย
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยได้มีการปักปันแนวเขตแดนไว้อย่างแน่ชัดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสี่ด้านร่วมกับประเทศชาติมหาอำนาจ ได้แก่ ด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา ทำกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนด้านไทย-พม่า และไทย-มาเลเซีย ทำกับประเทศอังกฤษ ซึ่งการดำเนินการในขณะนั้นทั้งสองฝ่ายได้จัดทำหลักฐานแสดงแนวเขตไว้ด้วย อาทิเช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา แผนที่ปักปัน และหลักเขตแดน เพื่อใช้ในการอ้างสิทธิ์ดินแดน ทั้งนี้ หลักฐานดังกล่าวยังคงมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันและสืบสิทธิ์มายังประเทศเพื่อนบ้านภายหลังได้รับเอกราช สรุปได้ว่า แนวเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้กำหนดไว้แน่ชัดตั้งแต่ในอดีตและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวเขตแดนไปจากที่ตกลงกันไว้ได้
การสำรวจและปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านนับตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ ยุค ได้แก่
ยุคแรก เป็นการสำรวจและปักปันเขตแดนร่วมกับประเทศมหาอำนาจ เรียกว่า “การสำรวจและปักปันเขตแดน” (Delimitation)
ยุคปัจจุบัน เป็นการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง เรียกว่า “การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน” (Demarcation)

การกล่าวอ้างว่า “การปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ”
อ้างถึงข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ นายเชิดชู รักตะบุตร ผู้เป็นพยาน ได้ให้ถ้อยคำต่อศาลปกครองว่า “...การปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา มีคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชาที่จัดตั้งขึ้นตามบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ปีค.ศ.๑๙๐๔ และปีค.ศ.๑๙๐๗ รวมความยาวพื้นที่ชายแดนประเทศไทยที่ติดต่อประเทศกัมพูชา ๗๙๘ กิโลเมตร ที่ยังเจรจาปักปันเขตแดน ยังไม่สำเร็จ ซึ่งรวมทั้งเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารด้วย จึงเชื่อว่ายังไม่มีการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาในบริเวณเขตแดนปราสาทพระวิหาร โดยคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประเทศทั้งสองแต่ประการใด...” (อ้างคำสั่งศาลปกครองกลาง คำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา,คดีหมายเลขดำที่ ๙๘๔/๒๕๕๑ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ หน้า ๑๕)
และยังได้กล่าวไว้ในสมุดปกขาว กระทรวงการต่างประเทศ กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หน้า ๒๒ กล่าวว่า “...ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการรอปักปัน เขตแดนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศทั้งสองภายใต้กรอบคณะกรรมการเขตแดนร่วม”
ผลเสียจากการอ้างว่าการปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ
• สิ่งสำคัญที่สุดคือ การอ้างว่า”การปักปันเขตแดน(Delimitation)ยังไม่แล้วเสร็จ”นั้น น้ำหนักในการอ้างสิทธิเหนือดินแดนย่อมน้อยกว่าการอ้างสิทธิเหนือดินแดนที่อยู่ในขั้นตอนของ”การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน” และทำลายความชอบธรรมในการอ้างอธิปไตยของชาติเหนือดินแดนตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ณ บริเวณที่อ้าง
• ทำให้อ้างความชอบธรรมในการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนของประเทศ หรือจัดการปัญหาเรื่องเขตแดนที่ไม่มีความโปร่งใสอย่างกรณีนี้
• จะเป็นการจงใจหรือไม่ก็ตาม การอ้างดังกล่าวนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กัมพูชาอ้างสิทธิเหนือดินแดนไทย
ข้อเท็จจริง
• การปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้น กระทำเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้วตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔ (ร.ศ.๑๒๒)ซึ่งเป็นหนังสือสนธิสัญญาใหญ่ แม้ต่อมาภายหลังจะมีการทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างสยาม-ฝรั่งเศสบริเวณกัมพูชาอีกครั้งในปี ค.ศ.๑๙๐๗ โดยเริ่มจากช่องเสม็ดไปสิ้นสุดที่ช่องเกล(ห่างจากเขาพระวิหารมาทางทิศตะวันตกประมาณ ๙๐ กิโลเมตร) ดังนั้นเขตแดนอันเป็นผลจากสนธิสัญญาปักปันเขตแดนทั้ง ๒ ฉบับ จึงมาบรรจบกันที่ช่องเกลนี้ และไม่ได้มีผลยกเลิกแนวเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร(สนธิสัญญา ๑๙๐๔) ซึ่งยังคงยึดถือตามสันปันน้ำแต่ประการใด จึงสรุปว่าการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้นได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้วโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาถึง ๑๐๔ ปี(ค.ศ.๒๐๐๘)
• ประเทศกัมพูชาเป็นอดีตประเทศในอารักขา(อาณานิคมอินโดจีน)ของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อได้รับเอกราชแล้วย่อมเป็นผู้สืบสิทธิต่างๆต่อจากฝรั่งเศส สนธิสัญญาหรือพันธะกรณีใดๆที่ฝรั่งเศสได้ทำไว้กับประเทศไทย(สยาม)ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔ และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๗ย่อมมีผลผูกพันกัมพูชาด้วย ดังนั้นกัมพูชาจะปฏิเสธการยอมรับผลของการปักปันฯที่เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นมาแล้วนั้นไม่ได้
• ดังนั้นย่อมยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะได้มีการปักปันกันเอาไว้ชัดเจนแล้วตามสนธิสัญญา แม้ว่ากัมพูชาจะอ้างแผนที่คนละฉบับกับไทย แต่แผนที่ที่กัมพูชาใช้นั้นไม่ถูกต้องตรงตามสนธิสัญญา จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเหนือสนธิสัญญาได้
• Joint Boundary Committee;JBC หรือคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมไทย-กัมพูชาเป็นคณะทำงานที่ตั้งขึ้นตามบันทึกความเข้าใจของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย(Memorandum of Understanding;MOU) เมื่อวันที่ ๑๔ มิ.ย.พ.ศ.๒๕๔๓ ให้ทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน(Demarcation)ทางบกตลอดแนว ตามที่ได้มีการเจรจาปักปันกันไว้แล้วตามสนธิสัญญาและอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ไม่ใช่ทำหน้าที่ปักปันเขตแดนตามที่บุคคลต่างๆกล่าวอ้าง เพราะได้เสร็จสิ้นไปแล้วตามคำอธิบายข้างต้น
• เจ้าหน้าที่กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศและเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ย่อมเป็นผู้ที่รู้เรื่องนี้ตลอดจนเทคนิคขั้นตอนต่างๆดีที่สุด แต่ก็ยังพยายามพูดข้อมูลอันเป็นเท็จทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดความสับสนอยู่ตลอดเวลา
----------------
ที่มา ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลงานการรักษาสันติภาพของกองทัพไทยในกัมพูชา

ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้ยึดมั่นหลักการในกฎบัตรสหประชาชาติที่กำหนดไว้ในหมวดที่ ๑ มาตราที่ ๒ อย่างเคร่งครัดเสมอมา โดยเฉพาะการยึดมั่นการแก้ไขปัญหา
ข้อพิพาทระหว่างชาติด้วยสันติวิธี โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสันติภาพ ความมั่นคงและกระบวนการยุติธรรมระหว่างประชาชาติ ตลอดจนการละเว้นการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในลักษณะที่คุกคามหรือการใช้กำลังหรือคุกคามต่ออธิปไตยในดินแดนหรือเอกราชของชาติอื่นๆ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทุกการปฏิบัติภารกิจที่สหประชาชาติได้ดำเนินการที่จำเป็นต่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ
การยืนยันจุดยืนของประเทศไทยตามหลักการขององค์การสหประชาชาติดังกล่าว จะเห็นได้จากผลการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของกองทัพไทย ภายใต้กรอบสหประชาชาติ กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค และกองกำลังพันธมิตรซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้การรับรองโดยข้อมติสหประชาชาติ
รวม ๑๓ ภารกิจ เริ่มตั้งแต่ภารกิจของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓
(ค.ศ.๑๙๕๐) จนถึงภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดานซึ่งยังคงปฏิบัติภารกิจนี้อยู่ปัจจุบัน
ภารกิจภายใต้กรอบองค์กรการสหประชาชาติที่สำคัญประการหนึ่งของกองทัพไทยซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและมีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ การเข้าร่วมภารกิจ UNAMIC (United Nation Advance Mission in Cambodia) ตามข้อมติที่ ๗๑๗ (ค.ศ.๑๙๙๑) เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔
(ค.ศ.๑๙๙๑) ซึ่งในวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ (ค.ศ.๑๙๙๒) เลขาธิการสหประชาชาติได้ขอให้ประเทศไทยส่งกองพันทหารช่างเข้าภารกิจนี้ในประเทศกัมพูชา และเดือนต่อมา (วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕) คณะรัฐมนตรีของไทยก็มีมติให้ส่งกองพันทหารช่างเฉพาะกิจ จำนวน ๗๐๕ นาย เข้าปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมเส้นทาง สะพาน สนามบิน ลาดตระเวนทางการช่าง เก็บกู้ระเบิด และปฏิบัติงานช่างทั่วไป สนับสนุนหน่วยงานของ ANTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) โดยกองทัพบกได้เคลื่อนย้ายกำลังเข้าปฏิบัติภารกิจในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๓๕ (ค.ศ.๑๙๙๒) รวมเวลาประมาณ ๑ ปี ๘ เดือน
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นประเทศ
เพื่อนบ้านและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันก็ยังให้ความช่วยเหลืออยู่เช่นเดิม และไม่ได้ยกเลิกความช่วยเหลือแต่ประการใด แม้ว่าจะเป็นห้วงเวลาการเกิดปัญหาพิพาท
เขตแดน ไทย – กัมพูชา ซึ่งประเทศไทยเห็นว่าเป็นปัญหาปกติของทุกประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน และปัญหาความขัดแย้งนี้สามารถแก้ไขด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี ตามที่ทั้งสองประเทศได้ร่วมลงนามไว้ในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการปฏิบัติการใดๆ ของกองทัพไทย จะคำนึงถึงการดำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างชนชาติของทั้งสองประเทศ เป็นประการสำคัญ แต่คงใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับกรอบดำเนินงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในขอบเขตกฎหมายของแต่ละประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด

การโต้แย้งการอ้างสิทธิ์เขตแดนของกัมพูชาตามแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐

การปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ได้กระทำเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
ตามสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔ (ร.ศ.๑๒๒ หรือ พ.ศ.๒๔๔๗) ซึ่งถือเป็นสัญญาใหญ่ แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมีการทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส บริเวณกัมพูชาอีกครั้งใน ค.ศ.๑๙๐๗ (ร.ศ.๑๒๕ หรือ พ.ศ.๒๔๕๐) โดยเริ่มจากช่องเสม็ดไปสิ้นสุดที่ช่องเกล (ห่างจากเขา
พระวิหารมาทางทิศตะวันตกประมาณ ๙๐ กิโลเมตร) ดังนั้นเขตแดนอันเป็นผลจากสนธิสัญญาปักปัน
เขตแดนทั้ง ๒ ฉบับ จึงมาบรรจบกันที่ช่องเกล และไม่ได้มีผลยกเลิกแนวเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร (สนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔) ซึ่งยังคงยึดถือตามสันปันน้ำ จึงสรุปได้ว่าการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้วอย่างไม่มีข้อสงสัย นับจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.๒๐๐๘ หรือ
พ.ศ.๒๕๕๑) เป็นเวลาถึง ๑๐๔ ปี ประเทศกัมพูชาเป็นอดีตประเทศในอารักขาของฝรั่งเศส (อาณานิคมอินโดจีน) เมื่อได้รับเอกราชแล้วย่อมมีผลผูกพันต่อสนธิสัญญา สยาม – ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔ และสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๗ ดังกล่าวด้วย โดยจะปฏิเสธการยอมรับผลของการปักปันเขตแดนที่เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ ปัจจุบันจึงไม่มีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะได้มีการปักปันกันเอาไว้ชัดเจนแล้วตามสนธิสัญญา
แม้ว่ากัมพูชาจะอ้างแผนที่คนละฉบับกับไทย แต่แผนที่ที่ใช้อ้างนั้นไม่ถูกต้องตรงตามสนธิสัญญา จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเหนือสนธิสัญญาได้ อีกทั้งแผนที่ของกัมพูชา มาตราส่วน
๑/๒๐๐,๐๐๐ เป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการผสมสยาม – ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ เนื่องจากคณะกรมการผสมชุดดังกล่าว ได้ยุบเลิกในเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๙๐๗ ก่อนจะมีการจัดทำแผนที่แผ่นนี้ ถึง ๑ ปี ซึ่งแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ถูกพิมพ์ขึ้นที่
กรุงปารีส ในระหว่างฤดูร้อน ปี ค.ศ.๑๙๐๘ ดังนั้นคณะกรรมการผสมที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา
ค.ศ.๑๙๐๔ จึงไม่มีโอกาสเห็นแผนที่ฉบับดังกล่าวได้เลย จึงเป็นไปไม่ได้ว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันสยาม – ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๔
แผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ฉบับนี้ กัมพูชาเคยใช้เป็นเอกสารแนบท้ายคำฟ้องในคดีปราสาทพระวิหาร ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๒ – ๒๕๐๕ แต่ศาลโลกมิได้ชี้ขาดว่าแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ไม่ถูกต้องในบริเวณปราสาทพระวิหาร และเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และเส้นสันปันน้ำตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ ซึ่งอยู่ที่ขอบหน้าผาในบริเวณปราสาท คือ เส้นเขตแดน แสดงว่าปราสาททั้งหมดอยู่ในเขตไทย จึงสรุปได้ว่าแผนที่ ๑/๒๐๐,๐๐๐ ของกัมพูชา ไม่ใช่แผนที่ของคณะกรรมการปักปันร่วมสยาม – ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และเป็นเส้น
เขตแดนที่ขัดแย้งกับสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และเป็นเส้นเขตแดนที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลากไว้โดยปราศจากอำนาจ จึงเป็นแผนที่ซึ่งเชื่อถือไม่ได้