วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อนุสัญญาออตตาวา

อนุสัญญาออตตาวานับเป็นอนุสัญญาแรกในการลดอาวุธที่ห้ามอาวุธตามแบบอย่างเต็มรูปแบบและกำหนดให้มีการทำลายทุ่นระเบิด และเป็นความร่วมมือร่วมใจอย่างแข่งขัน ระหว่างรัฐบาลและองค์กรเอกชน อนุสัญญาออตตาวาว่า เป็น landmark ของประวัติศาสตร์การลดอาวุธโลก
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล คือ ทุ่นระเบิดที่ใช้สำหรับฝังใต้ดิน วางไว้บนดินหรือเหนือพื้นดิน จะมีการระเบิดเมื่อมีการกด เหยียบ ดึง สัมผัส
สำหรับประเทศไทย ในช่วงเสร็จสิ้นสงครามในประเทศกัมพูชา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2525-2527 ราษฎรเริ่มกลับเข้าทำกินในที่ดินเดิม หลายพื้นที่มีทุ่นระเบิด จะมีการเก็บกู้ด้วยตัวราษฎรเอง เนื่องจากกำลังของทหารที่จะเข้าเคลียร์พื้นที่มีไม่เพียงพอ ส่วนมากผู้ที่เข้าเก็บกู้ มักจะเคยเป็นทหารอาสา ที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องทุ่นระเบิดมาก่อน ราษฎรในหมู่บ้านชายแดน แม้แต่เด็กหนุ่มที่มีความคึกคะนอง ก็สามารถเก็บกู้ทุ่นระเบิดเหล่านั้นได้ และแน่นอนที่สุดทุกรายต้องลงท้ายด้วยอุบัติเหตุ หลายคนแขนขาด บางคนพิการ และที่เสียชีวิตไป
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
(The 1997 treaty banning the use, stockpiling, production and transfer of anti-personel landmines) หรือที่เรียกว่า
อนุสัญญาออตตาวา ร่วมกับอีก 140 ประเทศ ณ ประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ. 1997 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2540 และได้ให้
สัตยาบันต่ออนุสัญญาออตตาวา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 เป็นผลให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญา
ออตตาวาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นประเทศในอันดับที่ 53 ของโลกและเป็นประเทศแรกในเอเชีย มีผลบังคับใช้ใน
วันที่ 1พฤษภาคม 2542 พันธกรณีของไทยภายใต้อนุสัญญาออตตาวา
เมื่ออนุสัญญาออตตาวามีผลบังคับใช้ต่อไทยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แล้ว ไทยก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติ
ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ ดังนี้
5.1 ไม่ใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
5.2 ไม่พัฒนา ผลิต หรือได้มาด้วยวิธีอื่น สะสม จัดเก็บหรือโอนไปสู่ผู้ใดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่ง
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ยกเว้นการโอนทุ่นระเบิดเพื่อทำลาย
5.3 ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุนหรือชักจูงผู้ใดให้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องห้ามแก่รัฐภาคีภายใต้อนุสัญญานี้
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม
5.4 ทำลายหรือดำเนินการให้แน่ใจว่ามีการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลทั้งหมดภายใน 4 ปี หลังจากที่
อนุสัญญาออตตาวามีผลบังคับใช้ต่อไทย ยกเว้นการจัดเก็บหรือโอน ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลได้จำนวนหนึ่งเพื่อการพัฒนา
การฝึกอบรมในการตรวจค้นทุ่นระเบิด การกวาดล้างทุ่นระเบิด หรือวิธีการทำลายทุ่นระเบิด
5.5 ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด (การเก็บกู้ทุ่นระเบิด) ภายใน 10 ปี หลังจากที่อนุสัญญามี
ผลบังคับใช้ต่อไทย (30 เมษายน 2552) ทั้งนี้ หากไม่สามารถที่จะทำลายทุ่นระเบิดในพื้นที่ทุ่นระเบิดได้ทันตามกำหนด
ระยะเวลาดังกล่าว อาจร้องขอต่อที่ประชุมรัฐภาคีหรือที่ประชุมทบทวนเพื่อขยายกำหนดเวลาในการดำเนินการดังกล่าวให้
เสร็จสิ้น ออกไปได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
5.6 แสดงตำแหน่งพื้นที่ซึ่งทราบหรือสงสัยว่ามีทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และต้องแสดงเขตบริเวณ เฝ้าตรวจพื้นที่
ทุ่นระเบิด และแยกพลเรือนออกไปจากพื้นที่ทุ่นระเบิดโดยใช้การล้อมรั้ว
5.7 รายงานผลการดำเนินการด้านทุ่นระเบิดต่อเลขาธิการสหประชาชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีกำหนดต้องส่ง
รายงานดังกล่าวภายในวันที่ 30 เมษายน
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอนุสัญญาออตตาวา
ไทยมีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ทั้งในด้านการเก็บกู้
ทำลาย การแจ้งเตือนภัยให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิด การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการฟื้นฟูพื้นที่ทุ่นระเบิดให้เป็น
ประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องจากสอดคล้องกับกระแสของ
โลกและเป็นประโยชน์ต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนไทยในระยะยาว และเพื่อประเทศไทยและประเทศอาเซียนเป็นเขต
ปลอดอาวุธนิวเคลียร์และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

--------------------------------
ข้อมูอ้างอิง

http://vivaldi.cpe.ku.ac.th/~note/newscrawler/view_
news.php?id=409493 http://my.dek-d.com/raidman/story/viewlongc.php?id
=221823&chapter=30

ไม่มีความคิดเห็น: